Page 42 - kpi20680
P. 42

20







                       สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติอีกด้วย ยิ่งเป็นการเน้นยํ้าให้เห็นถึงความสําคัญของการกําหนด
                       ยุทธศาสตร์ชาติโดยผู้ศึกษาจะได้กล่าวดังนี้

                              ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560  มีผลบังคับใช้ คณะรัฐมนตรีได้

                       เสนอร่าง  “พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติพุทธศักราช...  ” เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติ
                       บัญญัติแห่งชาติจนมีการประกาศบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อวันที่ 26  กรกฎาคม พ.ศ.

                       2560  โดยมีชื่อว่าพระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ  พ.ศ. 2560  มี เจตนารมณ์ซึ่งปรากฏใน

                       หมายเหตุของกฎหมายฉบับดังกล่าวสรุปสาระสําคัญได้คือ มีการอ้างอิงความ ในมาตรา 65  ของ
                       บัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็น เป้าหมายการพัฒนา

                       ประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและ

                       บูรณาการกัน เพื่อให้เกิดพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจึงร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น
                       และเมื่อพิจารณาเนื้อหาของบทบัญญัติใน มาตรา 5  และในหมวด 3  มาตรา 23  ถึงมาตรา 26  ตาม

                       พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 โดยมีการกําหนด สาระสําคัญไว้ดังนี้

                              มาตรา 5  “ให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรร

                       มาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันอันจะก่อให้เกิด
                       พลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติซึ่งต้องไม่

                       น้อยกว่ายี่สิบปี

                              การประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติให้ทําเป็นประกาศพระบรมราชโองการและเมื่อได้ประกาศ

                       ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ และหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดําเนินการเพื่อให้
                       บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ

                              การกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้าบริหาร

                       ราชการแผ่นดิน การจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่า
                       ด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนอื่นใด รวมตลอดทั้งการจัดทํางบประมาณรายจ่าย ประจําป ี

                       งบประมาณต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

                              ให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่จะกํากับดูแลและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย
                       ดําเนินการให้เป็นไปตามวรรคสองและวรรคสาม

                              ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระ

                       หรือองค์กรอัยการ การกํากับดูแลตามวรรคสี่ ให้หมายความถึงการประสาน การปรึกษาหรือ
                       เสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐองค์กรดังกล่าว”
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47