Page 40 - kpi20680
P. 40

18







                       รายละเอียดพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลอาจจะมีความมุ่งหมายใช้กฎหมายไป
                       ในทางที่ผิดเน้นใช้ไปทางนโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงจากประชาชน โดยการใช้เงิน ของรัฐลง

                       ไปในพื้นที่อย่างอดีตที่เคยเป็นมาซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณแผ่นดินอย่าง สิ้นเปลืองส่งผล

                       ต่อภาวะทางการเงินและการคลังของประเทศที่สําคัญผลประโยชน์ที่ได้ตกอยู่กับ ประชาชนแต่ตกอยู่
                       พรรคการเมืองซึ่งมีวัตถุประสงค์แอบแฝงทางการเมืองของนักการเมืองที่เข้ามา บริหารประเทศโดย

                       การใช้บทบัญญัติของกฎหมายเป็นเครื่องมือในการเรียกคะแนนนิยมนั่นเอง

                              2)  หากเราพิจารณาในเชิงนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า
                       มิได้ความแตกต่างในเชิงนโยบายมากนัก จึงมีความจําเป็นจะต้องบัญญัติหน้าที่ของรัฐเอาไว้มีผล

                       ผูกพันทางกฎหมายเอาไว้ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการกําหนดทิศทางของการพัฒนาประเทศให้มั่นคง ไม่

                       ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลในอนาคตจะต้องดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐอย่างเคร่งครัด
                       และมีความต่อเนื่อง สืบเนื่องจากบริบททางการเมืองของไทยในอดีตที่ผ่านมามีความขัดแย้งมาโดย

                       ตลอดส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล รัฐบาลไม่สามารถที่จะอยู่ครบวาระตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด

                       ไว้ 4ปี ประกอบกับรัฐบาลบางคณะเป็นรัฐบาลผสมจากหลายพรรคการเมืองทําให้ความคิดเห็นใน

                       เชิงนโยบายมีความหลากหลาย ไม่ลงตัว มีการต่อรองผลประโยชน์ และส่งผลทําให้นโยบายไม่มี
                       ความต่อเนื่องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแม้ว่ารัฐเดิมจะดําเนินการริเริ่มนโยบายไว้เป็นอย่างดี

                       ในทางการเมืองแล้วรัฐบาลที่มาจากพรรคใหม่ก็มักจะไม่สานต่อนโยบายของรัฐบาลเดิม (จรัญ

                       ภักดีธนากุล, 2560:  น.494-495) และในส่วนของการวิเคราะห์ตามแนวคิดของทฤษฎีอําเภอการณ์

                       โดยพิจารณาตีความจากเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นเองว่ากฎหมายนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร ผู้
                       ศึกษาเห็นว่าในส่วนของหน้าที่รัฐนั้นชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                       2560  มีเจตนารมณ์หลักในการกําหนดกรอบและควบคุมการใช้อํานาจ ตลอดจนการทํางานของ

                       รัฐบาลอย่างเคร่งครัดดังปรากฏในหลายบทบัญญัติ โดยเฉพาะการให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญมี
                       อํานาจวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐเพื่อให้เห็นว่าเจตนารมณ์ในการกําหนดหน้าที่ของรัฐไว้ใน

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นครั้งแรกและอีกทั้งยังมีเจตนารมณ์ให้รัฐมี

                       หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อประชาชนในการดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์
                       ต่อประชาชนโดยตรง

                              ดังนั้นในส่วนของวิเคราะห์เจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตาม

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  นั้นโดยใช้หลักตีความตามเจตนารมณ์
                       ประกอบกับทฤษฎีอําเภอจิตและทฤษฎีอําเภอการณ์ควบคู่กัน และใช้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ

                       หน้าที่ของรัฐมาหยั่งทราบเจตนารมณ์ของหน้าที่ของรัฐดังกล่าว โดยรวมจะเห็นได้ว่าหน้าที่ของรัฐมี

                       เจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการกําหนดภารกิจบทบาทของรัฐ ซึ่งรัฐจะต้องดําเนินการตามหน้าที่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45