Page 36 - kpi20680
P. 36
14
สรุปในลักษณะที่ประชาชนสามารถเข้าใจเนื้อหาสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญได้โดยสะดวกและเป็น
การทั่วไปและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การ
ออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยคะแนนเสียงข้างมาก
ของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมดังกล่าว คณะกรรมการ
ร่าง รัฐธรรมนูญจึงดําเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการออก
เสียง ประชามติในประเด็นเพิ่มเติมและได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการชอบด้วยผลการออกเสียง
ประชามติแล้วหรือไม่ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
เพิ่มเติมในข้อความบางส่วนและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการแก้ไขตามคําวินิจฉัย
ของ ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ต่อมา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)
พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมาแก้ไข
เพิ่มเติมเฉพาะบางประเด็นได้ เมื่อดําเนินการแล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีจึงนําร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้น
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระราชานุมัติ
จึงมีพระราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็น ต้นไป
ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์
รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจ
อธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคล อเนกศุภผลสกล
เกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุก
ประการเทอญ”
ในส่วนของคําปรารภตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 นั้น ถือเป็น
เนื้อหาสาระส่วนสําคัญที่สุดส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ มีการบัญญัติไว้เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญ
ของต่างประเทศและรัฐธรรมนูญในอดีตของไทย แต่จะแตกต่างกันตรงเจตนารมณ์และรายละเอียด
ในเนื้อหาของที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ โดยเนื้อหาของคําปรารภถือเป็นบทนํา หรืออารัมภบท
ของรัฐธรรมนูญที่มีขึ้นด้วยความมุ่งหมายเพื่อให้ทราบที่มา สภาพปัญหาหรืออํานาจในการ จัดทํา
รัฐธรรมนูญหรือปณิธานของรัฐธรรมนูญ อันจะระบุถึงข้อความที่แสดงถึงประวัติของชาติข้อความ
ประกาศสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งให้ทราบประวัติการจัดทํารัฐธรรมนูญและหลัก
พื้นฐานทั่วไปของรัฐธรรมนูญซึ่งคําปรารภตามที่ปรากฏไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย