Page 35 - kpi20680
P. 35
13
ใช้เป็นหลักในการปกครอง และเป็นแนวทางในการจัดทํากฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญและ
กฎหมายอื่น โดยได้กําหนดกลไกเพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้น
ใหม่ด้วยการจัดโครงสร้างของหน้าที่และอํานาจขององค์กรต่าง ๆ ตาม รัฐธรรมนูญ และ
สัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารให้เหมาะสม การให้สถาบันศาล และองค์กร
อิสระอื่นซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต
เที่ยงธรรมและมีส่วนในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤติของประเทศตามความจําเป็นและความ
เหมาะสม การรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยให้ชัดเจนและ
ครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยถือว่าการมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลักการจํากัดตัดสิทธิเสรีภาพเป็น
ข้อยกเว้น แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพื่อคุ้มครองส่วนรวม การ
กําหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ การวางกลไก
ป้องกัน ตรวจสอบ และขจัด การทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาดเพื่อมิให้ผู้บริหารที่
ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และ ธรรมาภิบาลเข้ามามีอํานาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้
อํานาจตามอําเภอใจและการกําหนดมาตรการป้องกันและบริหารจัดการวิกฤติการณ์ของประเทศให้
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนได้กําหนดกลไกอื่น ๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว
พุทธศักราช 2557 ระบุไว้เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายแห่งรัฐและ
ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้เข้ามาบริหารประเทศแต่ละคณะจะได้กําหนดนโยบายและวิธีดําเนินการที่
เหมาะสมต่อไป ทั้งยังสร้างกลไกในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ที่สําคัญและจําเป็นอย่าง
ร่วมมือร่วมใจกันรวมตลอดทั้งการลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุขบน
พื้นฐานของความรู้รักสามัคคีปรองดองการจะดําเนินการในเรื่องเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้จําต้องอาศัย
ความร่วมมือระหว่างประชาชนทุกภาคส่วนกับหน่วยงานทั้งหลายของรัฐตามแนวทางประชารัฐ
ภายใต้กฎเกณฑ์ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและประเพณีการปกครองที่
เหมาะสมกับสถานการณ์และลักษณะสังคมไทย หลักความสุจริต หลัก สิทธิมนุษยชน และหลักธรร
มาภิบาลอันจะทําให้สามารถขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาไปข้างหน้าได้ อย่างเป็นขั้นตอนจนเกิด
ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนทั้งในทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และ สังคมตามระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในการดําเนินการดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่
ประชาชนในหลักการและเหตุผลของบทบัญญัติต่าง ๆ เป็นระยะๆ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง
ร่างรัฐธรรมนูญและความหมายโดยผ่านทางสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาสารัตถะของร่างรัฐธรรมนูญด้วยการเสนอแนะข้อควรแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อการจัดทําร่าง
รัฐธรรมนูญแล้วเสร็จก็ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและคําอธิบายสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดย