Page 34 - kpi20680
P. 34
12
ความหมายของถ้อยคําที่เขียนไว้ในกฎหมายนั้นได้ในเรื่องของเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้สามารถ
อธิบายได้จากทฤษฎี 2 ทฤษฎี (หยุด แสงอุทัยและสมยศ เชื้อไทย, 2552) คือ
1) ทฤษฎีอําเภอจิต จะเน้นค้นพบเจตนารมณ์ของกฎหมายจากเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติ
กฎหมายนั้นเอง ในทางประวัติศาสตร์ เช่น พิจารณาจากต้นร่างกฎหมายนั้น รายงานการประชุม
พิจารณากฎหมาย เป็นต้น
2) ทฤษฎีอําเภอการณ์ ไม่ต้องค้นหาเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมายในทางประวัติศาสตร์
แต่ค้นหาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นเองว่ากฎหมายนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร
จากแนวคิดและหลักการดังกล่าวผู้ศึกษาได้กําหนดวิธีการหยั่งทราบเจตนารมณ์ของ
กฎหมายโดยพิจารณ์จากองค์ประกอบของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังนี้
(1) คําปรารภในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กล่าวว่า “สมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
ประกาศว่า นายกรัฐมนตรีได้นําความกราบบังคมทูลว่า นับแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทาน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้
ดํารงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขต่อเนื่องมา
โดยตลอด แม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการปกครอง
ให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบ
ปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้เหตุส่วนหนึ่งเกิด
จากการที่มีผู้ไม่นําพาหรือไม่นับถือยําเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง ทุจริตฉ้อฉลหรือ
บิดเบือนอํานาจ หรือขาดความตระหนักสํานึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทําให้
การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งจําต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับ
ใช้กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิด
จากกฎเกณฑ์การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้
ความสําคัญแก่รูปแบบและวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนํา
กฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการ
แตกต่างไปจากเดิมให้
ได้ผล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ
ที่ 1) พุทธศักราช 2558 จึงได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อ