Page 31 - kpi20680
P. 31
9
1) เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินให้ สอดคล้องกัน
เท่านั้น โดยไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องรัฐเพื่อบังคับให้รัฐต้องดําเนินการแต่อย่างใด แต่ไม่
หมายความรวมถึงรัฐดําเนินนโยบายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2) แนวนโยบายแห่งรัฐเกี่ยวกับการพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เห็นควรกําหนดหลักการให้มี
ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องสําคัญ เกี่ยวกับการรักษา
ผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศเพื่อดํารงไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์แห่งชาติ
รวมทั้งครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับการทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ
3) แนวนโยบายแห่งรัฐในเรื่องการพึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ เห็นควรกําหนด
หลักการให้รัฐต้องถือหลักความเสอมภาคในการปฏิบัติต่อรัฐอื่น รวมทั้งพึงให้ร่วมมือกับองค์การ
ระหว่างประเทศ และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและของคนไทยในต่างประเทศ เพื่อให้ แนวทาง
ให้การดําเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยสอดคล้องกับหลักสากล
4) แนวนโยบายแห่งรัฐเกี่ยวกับการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา เห็นควรยึดหลักการตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่วางหลักให้รัฐต้องให้ความ อุปถัมภ์และ
คุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น พร้อมทั้งมีแนวคิดในกรณีว่าสมควรให้รัฐป้องกันมิให้มี
การบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือมาเป็นเวลานานในทุก
กรณีด้วย
5) แนวนโยบายแห่งรัฐเกี่ยวกับการพึงจัดระบบการบริหารกระบวนการยุติธรรมเห็นควรยึด
หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 โดยกําหนดให้ รัฐต้องจัดระบบ
การบริหารงานความยุติธรรมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ โดยสะดวกและ
รวมเร็ว พร้อมต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนด้วย
จากหลักการทั่วไปทั้ง 5 ประการของหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งคณะกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญได้กําหนดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของหมวดดังกล่าวโดยจะเห็นได้คํา
ปรารภส่วนหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอารณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่กล่าวถึงหมวด
แนวนโยบายแห่งรัฐไว้คือ
“...การกําหนดมาตรการป้องกันและบริหารจัดการวิกฤติการณ์ของประเทศให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนได้กําหนดกลไกอื่นๆ ตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ระบุไว้ เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศตาม
แนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติซึ่งผู้เข้ามาบริหารประเทศแต่ละคณะจะได้กําหนด นโยบาย
และวิธีการดําเนินการที่เหมาะสมต่อไป...” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)