Page 33 - kpi20680
P. 33

11







                              การจัดทํา การกําหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีใน
                       ยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมี

                       บทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุก ภาคส่วนอย่างทั่วถึง

                       ด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้”
                              จากบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันได้ให้

                       ความสําคัญกับการบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นบทบัญญัติ สูงสุดของ

                       กฎหมายภายในประเทศไทย โดยบทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทํา
                       ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560 เพื่อกําหนดกระบวนการจัดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยเป็นแผน ระยะ

                       ยาวไม่น้อยกว่า 20 ปี และได้กําหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกําหนดแผนดังกล่าว เสนอ

                       ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งถือได้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวมีอํานาจหน้าที่สําคัญมาก หรือ อาจจะ
                       เรียกได้ว่าสามารถกําหนดกรอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินในระยะยาวมีผลผูกพันต่อ  การ

                       ดําเนินงานของหน่วยงานรัฐซึ่งรวมถึงรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระและองค์อื่นๆด้วย นอกจากนี้มีผล

                       ผูกพันต่อการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีให้ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และต้องมี

                       กระบวนการติดตามตรวจสอบ หากไม่ดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติโดยกําหนดความรับผิดแก่
                       หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น ทั้งทางอาญาและวินัยด้วยเช่นกัน (พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส, 2559)

                              ด้วยเหตุนี้เห็นว่าการกําหนดให้มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ชาติการให้อํานาจแก่

                       คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในการกําหนดแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ทําให้

                       คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวอาจจะมีอํานาจมากกว่าคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้กําหนดและวาง
                       แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน กลายเป็นอุปสรรคและกลไกในการควบคุมคณะรัฐมนตรีใน

                       การ บริหารราชการแผ่นดินอีกช่องทางหนึ่งมากกว่าการส่งเสริม ประกอบกับผลผูกพันของแผน

                       ยุทธศาสตร์ ชาติต่อหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานดูจะเป็นการขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ของ
                       หมวด แนวนโยบายแห่งรัฐที่เป็นเพียงแนวทางการกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของ

                       คณะรัฐมนตรีและไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องรัฐ

                              ในส่วนของการวิเคราะห์เจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตาม
                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  จะใช้หลักการตีความตามเจตนารมณ์เป็น

                       เครื่องมือในการวิเคราะห์โดยการตีความตามเจตนารมณ์เป็นวิธีการหยั่งทราบความหมายของถ้อยคํา

                       ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นๆ เหตุผลที่มีหลักการตีความตาม
                       เจตนารมณ์เนื่องจากหลักที่ว่า กฎหมายที่ได้บัญญัติขึ้นนั้นก็เพื่อจะให้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือ

                       ความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเลือกเฟ้นถ้อยคํามาใช้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือความ

                       มุ่งหมายดังกล่าว โดยเหตุนี้เมื่อหยั่งทราบเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายแล้ว ก็สามารถทราบ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38