Page 30 - kpi20680
P. 30
ทบที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
การศึกษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและชุมชนกับการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามที่
รัฐธรรมนูญกําหนด ประเด็นบทเรียนเพื่อการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชน
และชุมชนจึงจําเป็นต้องศึกษาแนวคิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ความคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของ
รัฐและแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ รวมทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง
รัฐในรัฐธรรมนูญจึงขอวิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์และเนื้อหาสาระ ผลผูกพันทางกฎหมาย สิทธิของ
ประชาชนในการฟ้องคดีต่อศาลตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเพื่อนําเสนอประเด็นวิเคราะห์
ในมุมมองที่น่าสนใจในการตอบปัญหาการศึกษาวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 เจตนารมณ์และสาระส าคัญ
จากปัญหาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540และ 2550 ดังที่ได้กล่าวไปนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีนายมีชัย ฤชุ
พันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้นําเสนอประเด็นและมีการแก้ไขจุดบกพร่อง
ของปัญหา หมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีการเปลี่ยนชื่อหมวดจาก “แนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐ” กลับไปใช้คําว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ”ตามเดิมและให้นําเนื้อหาสาระของแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ บางประการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และ 2550 ไป
กําหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้มีผลทางกฎหมายคือประชาชนสามารถฟ้องร้องรัฐได้หากไม่
ดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐ การเพิ่มเติมหมวดหน้าที่ของรัฐเข้าไปในรัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติ
หมวดใหม่ และการคงไว้ซึ่งหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐนั้น เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันโดย
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้มี การพิจารณาภาพรวมเพื่อจําแนกบทบัญญัติในแต่ละมาตราว่า
มาตราใดควรบัญญัติไว้ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือควรบัญญัติไว้ในหมวดว่าด้วยหน้าที่ของ
รัฐ
เพื่อเกิดความชัดเจนในการพิจารณาของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงมีการกําหนด
หลักการของหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐไว้สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ (ดวงจิตร ก่อเจริญวัฒน์, 2549)