Page 37 - kpi20680
P. 37

15







                       พุทธศักราช 2560  ได้บัญญัติถึงเนื้อหาดังที่กล่าวไปข้างต้นเอาไว้ และหากพิจารณาจากเนื้อหาคํา
                       ปรารภโดยใช้หลักการตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้วจะเห็นถึงสาระสําคัญที่มีความเกี่ยวข้อง

                       กับ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ดังจะวิเคราะห์ได้ดังนี้

                              (ก) เนื้อหาคําปรารภในส่วนแรกที่กล่าวว่า  “…  นับแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
                       ประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา การปกครองของประเทศไทยได้

                       ดํารงเจตนารมณ์ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ต่อเนื่องมา
                       โดยตลอดแม้ได้มีการยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดระเบียบการ ปกครอง

                       ให้เหมาะสมหลายครั้ง แต่การปกครองก็มิได้มีเสถียรภาพหรือราบรื่นเรียบร้อยเพราะยังคงประสบ

                       ปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ บางครั้งเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญที่หาทางออกไม่ได้ เหตุส่วนหนึ่งเกิด
                       จากการที่มีผู้ไม่นําพาหรือไม่นับถือยําเกรงกฎเกณฑ์การปกครองบ้านเมือง ทุจริตฉ้อฉลหรือ

                       บิดเบือนอํานาจหรือขาดความตระหนักสํานึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน จนทําให้การ

                       บังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผลซึ่งจําต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษาและการบังคับใช้

                       กฎหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบคุณธรรมและจริยธรรม แต่เหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจาก
                       กฎเกณฑ์การเมืองการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์บ้านเมืองและกาลสมัย ให้

                       ความสําคัญแก่รูปแบบและวิธีการยิ่งกว่าหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อาจนํา

                       กฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาใช้แก่พฤติกรรมของบุคคลและสถานการณ์ในยามวิกฤติที่มีรูปแบบและวิธีการ

                       แตกต่างไปจากเดิมให้ได้ผล…”
                              พิจารณาเนื้อหาในส่วนแรกสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของคําปรารภในรัฐธรรมนูญได้ว่า มีการ

                       กล่าวถึงสภาพของปัญหาการปกครองของไทยที่ประสบปัญหาขาดเสถียรภาพต้องเผชิญกับความ

                       ขัดแย้งมาโดยตลอด เกิดมาจากการบริหารราชการแผ่นดินที่ขาดหลักคุณธรรมผู้นําของประเทศไม่
                       เคารพกฎหมาย มีการทุจริต ประพฤติมิชอบและขาดความสํานึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ทําให้

                       การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล ซึ่งเมื่อนําไปพิจารณาร่วมกับสภาพปัญหาของบทบัญญัติ

                       รัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
                       ของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับอดีตของไทย ซึ่งเกิดปัญหาต่างๆดังที่ได้กล่าวก่อนหน้านี้ก็จะเป็น

                       ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่บัญญัติไว้ในส่วนของคําปรารภอย่างชัดเจนสืบ

                       เนื่องมาจากพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินขาดธรรมาภิบาลละเลย
                       หน้าที่ในการนําบทบัญญัติซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง

                       รัฐที่กําหนดไว้ในแต่ละด้านไม่นําไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบทําให้ประชาชนต้อง

                       เสียสิทธิที่ควรจะได้รับเหล่านั้นไป เช่น สิทธิและเสรีภาพในการได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดย
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42