Page 41 - kpi20680
P. 41

19







                       ดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการดําเนินการตามหน้าที่
                       ของรัฐ ที่สําคัญเป็นการกําหนดหน้าที่ไว้ชัดเจนเพื่อวางกลไกไม่ให้พรรคการเมืองใช้กฎหมายเป็น

                       เครื่องมือในการหาเสียงคะแนนนิยมจากประชาชนและเพื่อเป็นการวางรากฐานให้เกิดการดําเนิน

                       นโยบายพื้นฐานอย่างต่อเนื่องของรัฐอีกด้วย


                       2.2 ผลผูกพันทางกฎหมาย

                              จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหมวด 6  ว่าด้วยเรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                       ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560  มาตรา 64  บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “  บทบัญญัติในหมวดนี้เป็น

                       แนวทางให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน” นั่น
                       หมายความว่าแนวนโยบายแห่งรัฐจะมีประเด็นที่ชัดเจนแน่นอน 2  ประเด็นด้วยกันคือ 1)  เป็น

                       แนวทางในการตรากฎหมาย และ 2) เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน

                       ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า แนวนโยบายแห่งรัฐในส่วนของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ดังที่ยกมา มี
                       ลักษณะเหมือนกันคือแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นเพียงแต่แนวทางในการตรากฎหมายและการกําหนด

                       นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแนวทางกลางๆ เพื่อให้รัฐตรากฎหมายและกําหนดนโยบาย

                       การบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละด้านโดยมิได้มีผลผูกพันบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตาม รัฐจะ
                       ดําเนินการหรือไม่ดําเนินการใดๆก็ได้ แต่ทั้งนี้ในมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       พุทธศักราช 2560  ได้วางแนวทางให้รัฐต้องกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้อง

                       กับแนวนโยบายแห่งรัฐ ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภากล่าวคือ
                              คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้อง

                       สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของ

                       รายได้ที่จะนํามาใช้จ่ายในการดําเนินนโยบาย โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ภายในสิบห้า

                       วันนับแต่เข้ารับหน้าที่ ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่สําคัญและจําเป็น
                       เร่งด่วนดําเนินการไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จําเป็นก็ได้”

                              จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้บทบัญญัตินโยบายแห่งรัฐจะมีผลผูกพันไม่ บังคับให้

                       รัฐปฏิบัติตาม แต่การกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐต้องกําหนดให้ สอดคล้อง

                       กับแนวโยบายแห่งรัฐซึ่งได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และหากรัฐตรากฎหมายและกําหนด นโยบาย
                       การบริหารราชการแผ่นดินใดตามแนวนโยบายแห่งรัฐย่อมมีผลผูกพันทุกองค์ของรัฐให้ปฏิบัติตาม

                              เป็นที่น่าสังเกตว่าเพิ่มเติมจากบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับ

                       ปัจจุบันซึ่งได้กําหนดให้รัฐพึงจัดทํายุทธศาสตร์ชาติแล้วนั้น ในเนื้อหามาตรา 162  ของรัฐธรรมนูญ
                       ฉบับปัจจุบันได้กําหนดให้นโยบายของคณะรัฐมนตรีซึ่งจะต้องแถลงต่อรัฐสภาต้องมีความ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46