Page 46 - kpi20680
P. 46
24
หรือสั่งให้พ้นจาก ตําแหน่ง จะเห็นได้ว่ามีการกําหนดให้สิทธิแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา
และคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติดําเนินการใช้สิทธิทางกฎหมายต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่
มิได้ดําเนินการตามที่ กฎหมายกําหนด และในส่วนของประชาชนและชุมชนนั้นมิได้มีการ
กําหนดให้ประชาชนและชุมชนมี สิทธิในการฟ้องร้องคดีต่อศาล หรือฟ้องร้องต่อหน่วยงาน
ตรวจสอบของรัฐ หากรัฐไม่ดําเนินการตาม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและพระราชบัญญัติ
การจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีส่วน เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนและชุมชน
ด้วย
2.2.2 สิทธิชุมชน
หากพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับที่ผ่านมา ผู้วิจัย
พบว่ายังไม่มีการให้ความหมายของคําว่า “สิทธิชุมชน” อย่างเด่นชัด พบแต่เพียงการปรากฏของคํา
ว่า “สิทธิชุมชน” ในฐานะที่เป็นชื่อของส่วนที่ 12 ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากนั้นแล้ว คงปรากฏแต่คําว่า
“ชุมชน” โดยใช้คําว่า “ชุมชนมีสิทธิ” ดังนั้น คําว่า “สิทธิชุมชน” จึงเป็นคําที่นักวิชาการและนัก
เคลื่อนไหวน ามาใช้กันเอง โดยแฝงไว้ด้วยมายาคติบางอย่าง ซึ่งเมื่อนํามายาคติดังกล่าวมาเทียบเคียง
และตรวจสอบกับหลักการ แนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ทําให้เห็นถึงความเข้าใจที่
คลาดเคลื่อนทั้งของฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านสิทธิชุมชนซึ่งนํามาสู่การบัญญัติกฎหมายที่ไม่
สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของชุมชน จนนําไปสู่ปัญหาระดับปฏิบัติในการบังคับใช้
กฎหมาย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะศึกษาว่า “สิทธิชุมชน” นั้นคืออะไร และศึกษาว่า“ชุมชน” มี
ความสัมพันธ์อย่างไรกับ “ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” นั้น เบื้องต้นต้องทําความเข้าใจถึง
คําว่า “ชุมชน” ก่อน
อย่างไรก็ตาม การให้คํานิยามแก่คําว่า “ชุมชน” ก็อาจมีการผูกขาดความหมายของคํา
ดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน การที่รัฐเป็นผู้นิยามกับการที่ภาคสังคมนิยามจะต่างกันมาก เพราะรัฐใช้อํา
นาจรัฐเข้าครอบงํานิยา มความหมายชุมชนเพื่อจะควบรวมหรือจัดการชุมชนด้วยแนวคิดแบบการ
แทรกแซงจากรัฐ ต่างจากการที่นักวิชาการสาขาสังคมวิทยาได้นิยามซึ่งยังคงเคารพลักษณะ
ธรรมชาติของชุมชนในฐานะหน่วยย่อยหนึ่งของโครงสร้างสังคมที่รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงมาก
เกินไปในบางเรื่อง ที่ผ่านมา เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนโดยไม่ได้ให้นิยามคําว่า
“ชุมชน” ไว้และไม่มีการออกกฎหมายลูกเพื่อนิยามคําดังกล่าวไว้ด้วยเช่นกันการตีความคําว่า