Page 51 - kpi20680
P. 51

29







                       ต่อประชาชนเช่นเดียวกับการให้ประชาชนมีหน้าที่ต่อรัฐ...” สาระสําคัญของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
                       หมวด 5  ว่าด้วย  “หน้าที่ของรัฐ”  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560  มีการ

                       กําหนดบทบัญญัติในหลายมาตราตั้งแต่มาตรา 51 ถึงมาตรา 63 โดยผู้ศึกษาขอจัดแบ่งขอบเขตหน้าที่

                       ของรัฐออกเป็น 2 ประเภทตามความมุ่ง หมายในการก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรงดังนี้
                              1)  ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตามหน้าที่ของรัฐอย่างเจาะจงกล่าวคือ หน้าที่ของรัฐในประเภท

                       แรกจะพิจารณาจากความมุ่งหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐในการก่อให้เกิด

                       ประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเจาะจงเน้นไปที่ประชาชนบางกลุ่มโดยเฉพาะ ได้แก่ มาตรา 54
                              2) ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตามหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไปกล่าวคือ หน้าที่ของรัฐในประเภท

                       ที่สองจะพิจารณาจากความมุ่งหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ในการก่อให้เกิด

                       ประโยชน์แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งเน้นไปที่ประชาชนบางกลุ่มเป็นการเฉพาะ ได้แก่
                       มาตรา 52  มาตรา 53  มาตรา 55  มาตรา 56  มาตรา 57  มาตรา 58  มาตรา 59  มาตรา 60 มาตรา 61

                       มาตรา 62 และมาตรา 63 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                              โดยขอบเขตประเภทของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐดังที่ กล่าวไป

                       ข้างต้นจะเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวได้กําหนดความมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ โดยตรงแก่
                       ประชาชนซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2  ประเภทคือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตามหน้าที่ของรัฐ อย่าง

                       เจาะจงและผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตามหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ขอบเขตของหน้าที่ของรัฐทั้ง 2

                       ประเภทนี้สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐที่มีความมุ่ง

                       หมายและความแตกต่างจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในอดีตที่ผ่านมา ในการกําหนดหน้าที่ของรัฐ
                       ไว้ เป็นบทบัญญัติเด็ดขาด ซึ่งมีความสําคัญและจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรงในการ

                       ที่รัฐ จะต้องดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐและหากรัฐไม่ดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็จะก่อ

                       เกิดสิทธิ ในการฟ้องร้องแก่ประชาชน
                              หน้าที่รัฐตามรัฐธรรมนูญบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มี

                       สิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

                              กลไกตามมาตรา 213  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงมี
                       รายละเอียดในการใช้สิทธิดังกล่าวที่ชัดเจนขึ้นปรากฏตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า

                       ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมีข้อสังเกตดังต่อไปดังนี้

                              วัตถุแห่งคดีสิ่งที่บุคคลสามารถยื่นคําร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้นั้น รัฐธรรมนูญฯ
                       มาตรา 213  ได้กําหนดวัตถุแห่งคดีว่าคือ  “การกระทํา”  ซึ่งย่อมมีความหมายกว้างครอบคลุมการ

                       กระทําของรัฐทั้งหลาย ทั้งการกระทําทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร ทางตุลาการ หรือการกระทําที่ใช้

                       อํานาจตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56