Page 54 - kpi20680
P. 54
32
ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงประเด็นบางส่วนที่น่าจะพอทําให้เห็นภาพของการใช้สิทธิ
ตามกลไกมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
2.3.2 ผลผูกพันทางกฎหมาย
จากเจตนารมณ์และหลักการของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องการแก้ไขปัญหา ใน
ส่วนของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วย
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ที่มีได้มีลักษณะเป็นผลผูกพันให้รัฐต้อง
ดําเนินการส่งผลให้รัฐไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้เกิดผลจริงในทางปฏิบัติและเกิด
ประโยชน์ต่อประชาชน ทําให้ประชาชนเสียสิทธิในการรับประโยชน์ดังกล่าว จึงมีการร่าง
บทบัญญัติหมวด 5 หน้าที่ของรัฐขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่ารัฐจะดําเนินการตาม
เนื้อหาสาระที่บัญญัติไว้ใน หมวดดังกล่าว และมีผลผูกพันต่อองค์กรของรัฐทุกองค์กรให้ต้องปฏิบัติ
ตาม
ประกอบกับในมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ได้วาง
แนวทางให้รัฐต้องกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ ในการ
แถลงนโยบายต่อรัฐสภากล่าวคือ
“คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้อง
สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของ
รายได้ที่จะนํามาใช้จ่ายในการดําเนินนโยบาย โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ภายในสิบห้า
วันนับแต่เข้ารับหน้าที่
ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่สําคัญและจําเป็นเร่งด่วน ซึ่งหาก
ปล่อยให้เป็นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะ
ดําเนินการไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จําเป็นก็ได้”
จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าก่อนที่รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนั้น ต้องมี
การกําหนดนโยบายการบริหารราชแผ่นดินต่อรัฐสภาก่อน โดยนโยบายดังกล่าวจะต้องมีความ
สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐด้วย และหากรัฐตรากฎหมายและกําหนดนโยบายการบริหารราชการ
แผ่นดินใดตามหน้าที่ของรัฐย่อมมีผลผูกพันทุกองค์ของรัฐให้ปฏิบัติตาม
2.3.3 สิทธิของประชาชน
ในส่วนของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันและเจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชี้ให้เห็นชัดแล้วว่าบทบัญญัติดังกล่าวมี
ผลผูกพันทางกฎหมายที่รัฐจะต้องกระทําการตามบทบัญญัติดังกล่าว หากรัฐไม่กระทําการ หรือ งด