Page 57 - kpi20680
P. 57
35
รัฐธรรมนูญไทยในอดีต ซึ่งรัฐมิได้ดําเนินการให้เกิดผล ในทางปฏิบัติและประกอบกับสาระสําคัญ
ของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีเจตนารมณ์เป็นการกําหนดบทบาทภารกิจของรัฐ จึงมีเนื้อหาสาระ
ใกล้เคียงกันกับหน้าที่ของรัฐ ผู้ศึกษาจึงนํามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพเบื้องต้นนั่นเอง ซึ่งจากตาราง
ดังกล่าวข้างต้นสามารถที่จะสรุปถึงรายละเอียด ข้อเปรียบเทียบใน 3 ประเด็นหลักได้ดังนี้
1) เจตนารมณ์และสาระสําคัญในส่วนของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของต่างประเทศและ
นโยบายแห่งรัฐของไทยจะมีเจตนารมณ์เหมือนกันคือ ต้องการให้เป็นแนวทางแก่รัฐในการตรา
กฎหมายและการกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนเนื้อหาสาระจะเน้นนโยบาย
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่วนของประเทศไทยจะมีรายละเอียดที่มากกว่า และในส่วนของหน้าที่
ของรัฐ นั้นมีเจตนารมณ์ที่ต้องการบังคับให้รัฐดําเนินการตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดย
เคร่งครัด เนื้อหาสาระสําคัญโดยเฉพาะในส่วนของขอบเขตเนื้อหาหน้าที่ของรัฐ จะเป็นการกําหนด
หน้าที่ที่สําคัญของรัฐ เช่น หน้าที่ของรัฐด้านการรักษาความมั่นคงของชาติ หน้าที่ของรัฐด้าน
กฎหมาย เป็นต้น
2) ผลผูกพันทางกฎหมายจะเห็นได้ว่าทั้งในส่วนของนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของ
ต่างประเทศและนโยบายแห่งรัฐของไทยนั้นมีผลผูกพันทางกฎหมายให้รัฐต้องดําเนินการ และมีผล
ผูกพันให้องค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องปฏิบัติตาม และในส่วนของหน้าที่ของรัฐนั้นผลผูกพันทาง
กฎหมายให้รัฐต้องดําเนินการอย่างแน่นอน และมีผลผูกพันให้องค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องปฏิบัติ
ตามด้วยเช่นกันและหากรัฐไม่ดําเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชนในการฟ้องร้องรัฐ
3) สิทธิของประชาชนในการฟ้องร้องคดีต่อศาลจะเห็นได้ว่าทั้งในส่วนของนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐของต่างประเทศและนโยบายแห่งรัฐของไทยนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิของประชาชนในการ
ฟ้องร้องรัฐ หากรัฐไม่ดําเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่แตกต่างกับหน้าที่ของรัฐที่กําหนดไว้
ชัดเจนว่าหากรัฐไม่ดําเนินการตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ จะก่อให้เกิดสิทธิของ
ประชาชนในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดําเนินการ ที่สําคัญจะก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้อง
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามที่กฎหมายบัญญัติ
เมื่อพิจารณาจากข้อเปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ใน รัฐธรรมนูญของต่างประเทศกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐและหน้าที่
ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้วนั้นผู้ศึกษาสามารถที่จะสรุป
ข้อดีและข้อเสียของบทบัญญัติดังกล่าวได้ดังนี้
1) ข้อดีของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2560 กล่าวได้ว่า หากพิจารณาจากเนื้อหาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐใน
รัฐธรรมนูญของต่างประเทศและรัฐธรรมนูญของไทยจะพบว่า เนื้อหาดังกล่าวก็คือ หน้าที่ของรัฐซึ่ง