Page 55 - kpi20680
P. 55

33







                       เว้นกระทําการจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชนและชุมชนในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดําเนินการ
                       หรือ เรียกว่า “สิทธิของประชาชนที่จะให้รัฐดําเนินการ” รวมทั้งก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องรัฐอีกด้วย

                       พิจารณาได้จากบทบัญญัติในมาตรา 51 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

                              “การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็นการทําเพื่อให้
                       เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัด

                       ให้รัฐดําเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชน หรือ

                       ชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”
                              จากบทบัญญัติในมาตรา 51  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสิทธิของประชาชนด้วยกัน 2

                       ประการคือ 1) สิทธิในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดําเนินการ และ 2) สิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงาน

                       ของรัฐต่อศาล เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในเชิงรูปธรรมอย่างแท้จริงถือเป็นการกําหนดผล
                       ผูกพันทางกฎหมายที่เด็ดขาดเป็นอย่างมาก เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชนทั้ง

                       สองประการดังกล่าวแล้วย่อม ส่งผลคณะรัฐมนตรี ถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ดําเนินการตามบทบัญญัติใน

                       หมวดหน้าที่ของรัฐ จะเป็นเหตุ ให้คณะรัฐมนตรีถูกฟ้องร้อง

                              ดังนั้นในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหมวด 5  ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ
                       ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลกที่มีการบัญญัติหมวดดังกล่าวขึ้นมาเนื่องมาจาก

                       ใน รัฐธรรมนูญหลายประเทศได้กําหนดหน้าที่ของรัฐ หรือภารกิจของรัฐไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐ

                       ไว้สําหรับเป็นกรอบและแนวทางในการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายการบริหารราชการ

                       แผ่นดิน เท่านั้นเพื่อให้อํานาจแก่รัฐ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมีอํานาจและมีสิทธิ
                       และความคล่องตัวที่จะกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินด้วยตนเอง รวมทั้งผลผูกพันทาง

                       กฎหมาย ของแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นเพียงกรอบกลางๆ สําหรับรัฐ มิได้มีผลผูกพันบังคับให้รัฐต้อง

                       ปฏิบัติตามและไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชนในการฟ้องร้องคดีต่อศาล ซึ่งจะส่งผลดีต่อรัฐและ
                       คณะรัฐมนตรี แต่ในขณะเดียวกันบางครั้งการที่รัฐไม่ดําเนินการตามสิทธิและแนวนโยบายแห่งรัฐที่

                       ถูกกําหนดไว้ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์แก่ประชาชนย่อมส่งผลเสียต่อประชาชน

                              บทบัญญัติหน้าที่ของรัฐ ในรัฐธรรมนูญของไทยจึงมีผลผูกพันทางกฎหมายให้รัฐต้อง
                       ดําเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว อีกทั้งได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชนในการฟ้องร้องคดีต่อศาล

                       เพื่อ จัดให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์นั้นจะส่งผลดีต่อประชาชน เนื่องจากประชาชนจะได้รับ

                       ประโยชน์จากสิทธิดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเป็นการประกันว่ารัฐต้องดําเนินการตาม
                       บทบัญญัติดังกล่าว และรัฐจะเกรงกลัวต่อบทบัญญัติดังกล่าวหากไม่รัฐไม่ดําเนินการใด ตลอดจนรัฐ

                       อาจจะโดนศาลพิพากษาลงโทษได้ ในส่วนของข้อเสียอาจจะส่งผลในทางลบแก่รัฐ โดยเฉพาะพรรค

                       การเมืองที่อาจจะไม่มีโอกาสเสนอนโยบายใหม่ที่ขัดกับหน้าที่ของรัฐ เป็นอุปสรรคต่อการบริหาร
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60