Page 52 - kpi20680
P. 52
30
แต่เมื่อกลับมาดูพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ กลับพบว่ามีการกําหนดขอบเขต
การกระทําให้แคบลงอย่างมาก ตามมาตรา 47 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ กําหนดการ
กระทําที่ต้องห้ามชัดแจ้งในการเป็นวัตถุแห่งคดี ซึ่งทําให้บุคคลไม่สามารถนําการกระทําเหล่านี้มา
ยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
การกระทําทางบริหาร ในกรณีที่เป็นการกระทําทางรัฐบาล และการกระทําทางปกครองบาง
ประการ เช่น การดําเนินการวินัยทหาร หรือการกระทําที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กร
ตุลาการ
การกระทําทางตุลาการ ที่เป็นคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอื่น (ตามมาตรา 47 ใช้คําว่า “เรื่องที่
ศาลอื่นมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว”) ฉะนั้น การกระทําเหล่านี้แม้จะมีปัญหาว่าเป็นการ
กระทําที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ บุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพก็ไม่สามารถ
นํามาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
ฉะนั้น การกระทําที่น่าจะอยู่ในขอบเขตให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ จึงน่าจะเป็นการ
กระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางปกครองหรือการกระทําที่ใช้อํานาจตามกฎหมายกรณีอื่น
นอกเหนือจากที่เป็นข้อยกเว้นโดยชัดแจ้ง และการกระทําที่ใช้อํานาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ
แต่การกระทําเหล่านี้จะสามารถเป็นวัตถุแห่งคดีได้จริงหรือไม่ จะได้มีข้อสังเกตต่อไป
เหตุแห่งการฟ้องคดีปรากฏตามมาตรา 46 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ซึ่ง
สามารถสรุปเหตุได้ว่า
(1) ผู้ร้องต้องกล่าวอ้างว่ามีการกระทําเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของ
ตนโดยตรง คือ เป็นเป้าหมายของมาตรการหรือการกระทําของรัฐที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
ตามรัฐธรรมนูญ
(2) ผู้ร้องจะต้องมีความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทํานั้น
ผู้มีสิทธิฟ้องคดี ผู้มีสิทธิยื่นคําร้องต้องเป็น “บุคคล” ผู้ถูกละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตาม
รัฐธรรมนูญโดยตรง และได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะได้รับความเดือดร้อนหรือ
เสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทํานั้น ไม่ใช่บุคคลทุกคนที่เห็นการกระทําที่มีปัญหา
ละเมิดสิทธิและเสรีภาพจะสามารถยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
คําว่า “บุคคล” ย่อมหมายถึง ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่มีประเด็นที่น่าคิดต่อไปว่า
จะหมายรวมถึง “ชุมชน” ด้วยหรือไม่อย่างไร (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ให้สิทธิ
ชุมชนฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนในกรณีรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามหมวด 5
รัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ)