Page 50 - kpi20680
P. 50

28







                              2)  หน้าที่ของรัฐในการจัดให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและการรักษาพยาบาลที่มี
                       คุณภาพโดยให้รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องจัดให้คนไทยได้รับบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพและทั่วถึง

                       สําหรับกรณีคนต่างด้าวจะเป็นการให้สิทธิตามที่กําหนดไว้ในหลักสิทธิมนุษยชน

                              3)    หน้าที่ของรัฐในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และ
                       ผู้ด้อยโอกาสเพื่อให้สามารถดํารงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและได้รับการพัฒนา

                              4)  หน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมความ

                       หลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ
                       หากมีการดําเนินการของรัฐที่มีผลกระทบต่อความสงบสุข สุขภาพ หรือวิถีชีวิตของประชาชนหรือ

                       ชุมชนหรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น

                       ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการเยียวยา ความเดือดร้อนหรือความเสียหายของ ประชาชนหรือ

                       ชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม
                              5) หน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับการจัดให้มีมาตรการหรือกลไกในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

                       ผู้บริโภคให้เกิดความเป็นธรรมเป็นหลักการในการดําเนินการ

                              6)  หน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของ
                       ประเทศมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนนั้น เพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินแผ่นดินหรือสร้าง

                       หนี้สาธารณะเกินสมควรอันเป็นการสร้างภาระให้รัฐบาลในขณะนั้น รัฐบาลในอนาคตและ

                       ประชาชนในที่สุดด้วย

                              7) หน้าที่ของรัฐในการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในการใช้มาตรการและกลไกทั้ง
                       ปวงเพื่อการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ สําหรับภาคเอกชนรัฐเพียงกํากับ ดูแล

                       ให้เป็นไปตามกลไกทางกฎหมายและมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกํากับดูแลตามปกติ

                       อยู่แล้ว
                              จากหลักการทั่วไปทั้ง 7 ประการถือได้ว่าเป็นกรอบที่นํามาสู่การร่างบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ

                       ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นแนวทางกว้างๆ ครอบคลุมทั้งประเด็นการศึกษาการ

                       สาธารณสุข การคุ้มครองมนุษย์ การคุ้มครองทรัพยากร การรักษาวินัยทางการเงิน และการขจัดการ
                       ทุจริต ซึ่งภายหลังก็ได้มีการพิจารณาบัญญัติเป็นรายมาตราและเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

                       แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2560  ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับเจตนารมณ์ในการกําหนด

                       บทบัญญัติหมวดนี้ขึ้นมา โดยปรากฏถ้อยคําส่วนหนึ่งในคําปรารภของรัฐธรรมนูญว่า
                              “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครอง

                       และเป็นแนวทางในการจัดทํากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น โดยได้ กําหนดกลไก

                       เพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งแก่การปกครองประเทศขึ้นใหม่...การกําหนดให้รัฐ มีหน้าที่
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55