Page 49 - kpi20680
P. 49
27
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
เกิดจากแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้พิจารณาทบทวนรัฐธรรมนูญในอดีต พบว่า
สิทธิบางประการที่เขียนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญและแนวนโยบายแห่งรัฐมิได้
ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน
การจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตาม
หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประชาชนจะเสียสิทธิบางอย่างไป
รวมทั้งเพื่อทํา ให้สิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับประโยชน์จากรัฐเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงนําเนื้อหาสาระที่สําคัญในสิทธิของประชาชนและแนวนโยบาย
แห่งรัฐบางส่วนไปบัญญัติไว้ในหมวดใหม่ชื่อว่า “หน้าที่ของรัฐ” โดยเน้นประเด็นที่สําคัญเท่านั้น ยัง
มีการกําหนดให้รัฐต้องทําตามหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะมีสิทธิหรือไม่
เนื่องจากเป็นหน้าที่ของรัฐและรัฐต้องดําเนินการ มีการวางหลักการทั่วไปของหมวด “หน้าที่ของ
รัฐ” ให้แตกต่างจากแนวนโยบายแห่งรัฐ คือ หมวดว่าด้วยหน้าที่ของรัฐเป็นบทบัญญัติที่มีผลผูกพัน
ให้รัฐต้องปฏิบัติไม่เช่นนั้นอาจเป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้รัฐปฏิบัติตามได้ หมวดว่าด้วยหน้าที่ของ
รัฐจึงเป็นเรื่องหลักการสําคัญและจําเป็นเท่านั้นซึ่งรัฐจะต้องดําเนินการให้ครบถ้วนและเหมาะสมกับ
สถานะทางการเงินการคลัง (วัชราภรณ์ จุ้ยลําเพ็ญ, 2558) หลักการดังกล่าวยิ่งตอกยํ้าได้จากการ
พิจารณาบทให้สัมภาษณ์ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่า
“เรื่องสิทธิเสรีภาพแทนที่จะเขียนลอยๆ ว่ามีสิทธิอะไรให้ไปเรียกร้องเอาเอง คราวนี้เขียน
ใหม่ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐไปทําให้สิทธินั้นเกิดขึ้น อะไรที่คิดว่าทําให้เกิดการ
พัฒนาในทางที่ดีขึ้นถ้าประชาชนไปใช้สิทธินั้น เราก็เขียนให้เป็นหน้าที่ของรัฐ”
นอกจากนี้ในการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 27
ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมงบประมาณชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 ได้พิจารณาหลักการที่สมควรกําหนด
ไว้ในหมวด 5 “หน้าที่ของรัฐ” โดยสามารถสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ (ดวงจิตร ก่อเจริญวัฒน์,2549)
1) หน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับการศึกษา โดยให้รัฐมีหน้าที่จัดให้เด็กทุกคนต้องได้รับ การศึกษา
ภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยไม่จํากัดเฉพาะเด็กที่มี สัญชาติไทย
แต่ครอบคลุมไปถึงเด็ก ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ
พันธกรณีของประเทศไทยตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 และ อนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิเด็ก รวมทั้งกําหนดให้ในการดําเนินการหรือจัดการศึกษานั้นจะต้องมุ่งพัฒนาคน ให้เป็นคนดีมี
วินัย เนื่องจากการสร้างคนดีมีวินัยนั้น เป็นพื้นฐานอันสําคัญในการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้า
ต่อไป