Page 44 - kpi20680
P. 44
22
การพัฒนาประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทําแผนต่างๆ รวมทั้งมีการกําหนดการจัดทํา การ
กําหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมายที่มีลักษณะเป็น การกําหนดบังคับให้รัฐต้อง
ดําเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวอย่างชัดเจน ซึ่งแตกแตกต่างจากมาตราอื่นๆในหมวดเดียวกันที่มี
ได้มีลักษณะบังคับให้รัฐต้องเร่งดําเนินการตรากฎหมาย
2) เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีการกําหนดเพิ่มเติมให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายการ
บริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาโดยต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยเนื้อหาในส่วนนี้
แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆในอดีตที่เพียงกําหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องกําหนดนโยบาย
สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
3) การให้ความสําคัญต่อการกําหนดยุทธศาสตร์ชาติภายหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ได้
ไม่นาน ได้มีการดําเนินการร่างและประกาศใช้พระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ ชาติพ.ศ.2560 เป็นที่
เรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกันห้วงเวลาของการออกกฎหมายซึ่งสอดคล้องกับ แนวนโยบายแห่งรัฐใน
อดีตมักจะกระทําภายหลังจากคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว และ เมื่อผู้ศึกษาพิจารณา
จากเนื้อหาในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่ามีการกําหนด ยุทธศาสตร์ชาติ
เป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศและมีระยะเวลาการบังคับใช้ไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งการกําหนด
เนื้อหาดังกล่าวเป็นการกําหนดบทบัญญัติที่ชัดเจนและมีนํ้าหนัก การกําหนดยุทธศาสตร์ชาติเป็น
ระยะเวลากว่า 20 ปีนั้นส่งผลเสียต่อการกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งความ
คล่องตัวของคณะรัฐมนตรีในการที่จะกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของตน และไม่
สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ภายในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาแม้จะมีการกําหนดให้ทบทวนทุกระยะเวลา 5 ปีก็ตาม
4) จากบทบัญญัติในมาตรา 23 ถึงมาตรา 24 ที่กําหนดให้คณะรัฐมนตรีกําหนดหลักเกณฑ์
ในการติดตาม การตรวจสอบ การประเมินผลตามคําแนะนําของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เป็นการ
กําหนดให้อํานาจแก่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติค่อนข้างที่จะมาก ซึ่งหากพิจารณาจากหลักการ
ของแนวนโยบายแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรีคือองค์กรที่สําคัญและมีอํานาจที่สุดในการกําหนดแนวทาง
นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งขัดกับเนื้อหาของบัญญัติ ดังที่ได้กล่าวไป ประกอบกับผล
ผูกพันในการลงโทษแก่หัวหน้าของหน่วยงานของรัฐนั้นที่ไม่ดําเนินการ ตามมาตรา 25 และมาตรา
26 เป็นการดําเนินการลงโทษที่รุนแรงโดยมีการส่งเรื่องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ ซึ่งหากมีการชี้มูลความผิด ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหานั้นสั่งให้ผู้นั้นพัก
ราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน หรือ สั่งให้พ้นจากตําแหน่ง
ต่อไป