Page 39 - kpi20680
P. 39
17
เมื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของหน้าที่ของรัฐแล้วตีความได้ชัดตามหลักการตีความ
ตามเจตนารมณ์และแนวคิดของทฤษฎีอําเภอจิต จะเน้นค้นพบเจตนารมณ์ของกฎหมายจาก
เจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมายนั้นเองในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในที่นี้พิจารณาจากต้นร่างกฎหมาย
นั่นเองพบว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยเป็นไปใน
ลักษณะของการบังคับให้รัฐต้องดําเนินการตามหน้าที่ดังกล่าว โดยที่ประชาชนมีต้องร้องขอให้รัฐ
ดําเนินการรวมทั้งหากรัฐไม่ดําเนินการ หรือรัฐละเลยการปฏิบัติตามจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชน
ในการติดตามเร่งรัดให้รัฐดําเนินการรวมทั้งสิทธิในการฟ้องร้องรัฐได้เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ ซึ่ง
สอดคล้องกับบันทึกการให้สัมภาษณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญนายมีชัย ฤชุพันธุ์ประธานกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นการบัญญัติหมวด
หน้าที่ ของรัฐไว้ดังนี้
“หน้าที่นี้จะมีสภาพบังคับให้รัฐต้องทําต่างจากเดิมที่จะเป็นการเขียนให้เป็นสิทธิของ
ประชาชนไว้ เช่น ให้ประชาชนมีสิทธิขอข้อมูลจากรัฐได้ แต่ในทางปฏิบัติรัฐไม่ให้ เช่น ให้
ประชาชนมีสิทธิขอข้อมูลจากรัฐได้ แต่ในทางปฏิบัติรัฐไม่ให้ โดยการอ้างระเบียบต่างๆ จึงเขียน
กําหนดให้เป็นหน้าที่รัฐแทนว่า ต้องเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชน ซึ่งหากไม่ทําตาม ก็สามารถนําไป
ฟ้องทางอาญาหรือฝ่ายรัฐสภาก็อาจจะยกเป็นเหตุละเลยต่ออํานาจหน้าที่ นําไปสู่การเปิดอภิปรายไม่
ไว้วางใจ แต่เงื่อนไข เหล่านี้จะไม่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญที่จะเขียนไว้เพียงกว้างๆ...
การกําหนดหน้าที่ของรัฐจําเป็นต้องลงพื้นที่ฟังความคิดเห็นของประชาชนอยากให้รัฐทํา
อะไรหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ไม่จําเป็น เพราะบางข้อเสนออาจเป็นไปไม่ได้ที่จะกําหนดไว้
รัฐธรรมนูญ เช่น ขอให้กําหนดว่า รัฐบาลต้องกําหนดราคารับซื้อข้าวจากชาวนาเกวียนละ 50,000
บาท ซึ่งมันทําไม่ได้ถ้าทําก็ล้มละลายกันหมด ส่วนจะมีการกําหนดให้รัฐต้องสร้างความปรองดอง
หรือไม่นั้น มองว่าเขียนลําบากขึ้นอยู่กับว่าเราจะคิดวิธีออกหรือไม่ หากเขียนไปลอยๆว่าให้
ปรองดอง โดยไม่มีวิธีดําเนินการเดี๋ยวก็เอาเงินไปแจก” (เดลินิวส์ ,22 ตุลาคม 2558)
รัฐธรรมนูญสะท้อนเจตนารมณ์ของหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจนและผู้ศึกษามองว่ายังมี
เจตนารมณ์บางประการซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อสังเกตกล่าวคือ
1) เนื้อหาบทสัมภาษณ์ส่วนหนึ่งซึ่งมีการกล่าวถึงการที่ไม่กําหนดหน้าที่ของรัฐในเชิง
นโยบาย เช่น หากประชาชนร้องขอให้กําหนดหน้าที่ของรัฐว่า รัฐต้องรับซื้อราคาข้าวตันละ 50,000
บาท เช่นนี้วิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตโดยตีความเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่าอาจจะเป็นการเปิด
ช่องให้พรรคการเมืองบิดเบือนเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยการอ้างความชอบธรรมของ
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปใช้ในการกําหนดเป็นนโยบายพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อให้
ได้รับเลือกเป็นรัฐบาลมากกว่า หรือการกําหนดให้รัฐต้องสร้างความปรองดองซึ่งหากไม่กําหนด