Page 45 - kpi20680
P. 45

23







                              ที่กล่าวไปผู้ศึกษาต้องการจะให้เห็นว่าจากข้อสังเกตทั้งสี่ประการดังกล่าวนํามาสู่ประเด็นผล
                       ผูกพันทางกฎหมายของแนวนโยบายแห่งรัฐในส่วนของการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ ตามมาตรา 65

                       และมาตรา 162  แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบกับบทบัญญัติในมาตรา 5  มาตรา  23 ถึง

                       มาตรา 26  ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการบังคับให้รัฐต้องดําเนินการอย่าง แน่นอน
                       และเด็ดขาดรวมทั้งมีการกําหนดให้ยุทธศาสตร์ชาติมีผลผูกพันกับทุกองค์กรของรัฐให้ต้อง ปฏิบัติ

                       ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวและหากไม่ดําเนินการตามหลักยุทธศาสตร์ชาติจะส่งผลให้ คณะกรรมการ

                       ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดําเนินการตรวจสอบ และหากมีมูล ต้องได้รับบทลงโทษ
                       ถึงขั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน หรือ สั่งให้พ้น

                       จากตําแหน่ง ซึ่งมองว่าอาจจะขัดกับหลักการของแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยเป็นเพียงแค่ บทบัญญัติที่

                       ไม่มีผลผูกพันที่แน่นอนและเด็ดขาดต่อรัฐ แต่เป็นหลักการในการวางแนวทาง การวาง กรอบกลางๆ
                       สําหรับรัฐในการใช้ตรากฎหมายและกําหนดนโยบายการบริหารราชแผ่นดินเท่านั้น อีกทั้ง

                       คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้มีการกําหนดบทบัญญัติหมวด 5  ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติมเข้า

                       มาแล้ว หากมีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแน่นอน ก็จะส่งผลทําให้รัฐ

                       หรือคณะรัฐมนตรีที่จะเข้ามาบริหารราชแผ่นดินไม่มีความคล่องตัวและความเป็นอิสระในการ
                       กําหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของตน เนื่องจากต้องกําหนดแนวทางการบริหารราช

                       แผ่นดินให้ สอดคล้องถึงสามกรอบด้วยกันคือ หน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์

                       ชาติ

                              2.2.1 สิทธิของประชาชน
                              ในส่วนของบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและ

                       เจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชี้ให้เห็นชัดแล้วว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียง

                       แนวทาง ให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่
                       ก่อให้เกิดสิทธิใน การฟ้องร้องรัฐเพื่อบังคับให้รัฐต้องดําเนินการอย่างใด ดังนั้นประชาชนและชุมชน

                       จึงไม่มีสิทธิในการ ฟ้องร้องคดีต่อศาล กรณีที่รัฐไม่ดําเนินการตามแนวนโยบายแห่งรัฐ แต่ไม่ได้

                       หมายความรวมถึงรัฐ ดําเนินนโยบายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                              และในส่วนของบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ ประเด็นของการจัดทํายุทธศาสตร์

                       ชาติซึ่งมีการกําหนดให้สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

                       ดําเนินการเอาผิดกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้ดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติซึ่งกําหนด
                       ไว้ในมาตรา 24 ถึงมาตรา 26  และมีการกําหนดแนวทางให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและ

                       ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดําเนินการตรวจสอบ โดยหากมีมูลจะส่งผลให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูก

                       กล่าวหานั้นสั่งให้ผู้ นั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50