Page 58 - kpi20680
P. 58
36
กําหนดภารกิจของรัฐด้านต่างๆเอาไว้ เป็นกรอบกว้างๆในการที่รัฐจะกําหนดนโยบายการบริหาร
ราชการแผ่นดิน หากรัฐไม่ดําเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่อาจที่จะก่อให้เกิดสิทธิแก่ประชาชน
ในการฟ้องรัฐซึ่งประเทศต่างๆ นิยมกําหนดไว้เป็นเพียงแต่กรอบแนวนโยบายเพื่อความเป็นอิสระ
ในการบริหารราชการแผ่นและการกําหนดนโยบายของรัฐ นั่นทําให้บทบัญญัติดังกล่าวขาดผล
ผูกพันอย่างเคร่งครัดทางกฎหมาย แต่ในส่วนของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตาม
รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้นถือเป็นบทบัญญัติหมวดใหม่ที่มีการ
กําหนดขึ้นมา เนื่องมาจากข้อบกพร่องของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ และ
บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับอดีตที่ผ่านมาของ
ไทย ซึ่งรัฐมิได้นําบทบัญญัติของทั้ง 2 หมวดบางประการมาก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติจนทําให้
ประชาชนต้องเสีย ผลประโยชน์ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันจึงกําหนดขึ้นมา เพื่อเป็นบทบัญญัติที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดในการกําหนด
หน้าที่ของรัฐที่จะต้อง ดําเนินการอย่างชัดเจน หากรัฐไม่ดําเนินการตามหน้าที่ของรัฐดังกล่าว
ประชาชนในฐานะผู้เสีย ผลประโยชน์จากการดําเนินการของรัฐตามหน้าที่ของรัฐ สามารถที่จะใช้
สิทธิในการฟ้องรัฐได้โดยตรง ประกอบกับสภาพปัญหาความไม่ต่อเนื่องของการดําเนินการตาม
นโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนบางประการ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐจึง
กําหนดหน้าที่ของรัฐที่สําคัญ เอาไว้อย่างชัดเจน หากเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลซึ่งมาจากต่าง
พรรคการเมือง จะเป็นการประกัน ว่าหน้าที่ของรัฐซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะได้รับการ
ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลประโยชน์ของ ประชาชนเอง
2) ข้อเสียของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กล่าวได้ว่า เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของบทบัญญัติดังกล่าวกับ
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของต่างประเทศแล้วจะพบว่า การกําหนด
หน้าที่ของรัฐเอาไว้อย่างชัดเจนจะส่งผลให้รัฐที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินไม่มีความเป็นอิสระใน
การกําหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของตนมากนัก เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
แห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดให้รัฐจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้เป็นไป
ตามหน้าที่ของรัฐแนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการกําหนดนโยบายของรัฐจะต้อง
กําหนดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายทั้ง 3 ส่วนโดยในแต่ละส่วนจะมีการกําหนด
บทบัญญัติไว้อย่างชัดเจนมีความแตกต่างกันการดําเนินการทั้ง 3 ส่วนอาจจะเป็นข้อจํากัดของรัฐ
หลายประการเช่น ระยะเวลาของการดําเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายทั้ง 3 ส่วน ผลผูกพัน
ทางกฎหมายที่มีความ เด็ดขาดขึ้น เป็นต้น ประกอบกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ
ดังที่กล่าวไปมีการกําหนด สิทธิในการฟ้องร้องรัฐแก่ประชาชนหากรัฐไม่ดําเนินการตามหน้าที่ของ