Page 181 - kpi20440
P. 181
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า 181
ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
ตัวอย่างของกรณีที่รัฐได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการแสดงออกซึ่งเสรีภาพของประชาชนไทย เช่น กองทัพ
เรือฟ้องบริษัทภูเก็ตหวาน (ประชาไท, 2015) กรณีพระสนิทวงศ์โพสเฟซบุ๊ควิจารณ์ดีเอสไอ (ไทยรัฐ, 2560) กรณี
คุณนริศราวัลถ์โพสต์ข้อมูลเรื่องซ้อมทหารเกณฑ์ (ประชาไท, นริศราวัลถ์ หลานสาวพลทหารวิเชียร เผยอัยการ
สั่งไม่ฟ้องคดี พ.ร.บ.คอมฯ, 2017) นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เอกชนเกี่ยวข้องกับการละเมิดกันเอง เช่นกรณีโรงงาน
ผลไม้กระป๋องกับอานดี้ ฮอลล์ (ไทยรัฐ, ศาลรอลงอาญา 2 ปี ‘อานดี้ ฮอลล์’ หมิ่น ’เนเชอรัล ฟรุต’ ละเมิด
ก.ม.แรงงาน, 2559) และกรณีคุณสมลักษณ์โพสต์เฟซบุ๊ควิจารณ์เหมืองทองค�า จังหวัดพิจิตร (ประชาไท, ศาล
ยกฟ้องนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ปมโพสต์วิจารณ์เหมืองอัครา, 2016) เป็นต้น
กรณีต่าง ๆ ที่ยกถึงข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า อินเตอร์เน็ตถูกใช้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการกีดกัน
หรือจ�ากัดเสรีภาพในการแสดงออกของปัจเจกบุคคล และยังเป็นเครื่องมือของภาคเอกชนในการป้องกัน
การตรวจสอบของสื่อมวลชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพลังอีกด้านหนึ่งของอินเตอร์เน็ต
ควำมหวังยังมี : กำรเคลื่อนไหวในโลกดิจิทัลที่น�ำไปสู่
กำรเปลี่ยนแปลงทำงนโยบำย
แม้ว่าสถานการณ์สากลทั่วโลกจะอยู่ในบริบทของความตกต�่าในระบอบประชาธิปไตย และบริบททาง
สังคมไทยจะไม่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อพิจารณาถึงปรากฏการณ์ของการเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์
ในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า เรื่องของความขัดแย้งและสุดโต่งที่เกิดขึ้น และ การพยายามควบคุมโลกไซเบอร์และ
ประชาธิปไตยไซเบอร์ของภาครัฐ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดของโลกไซเบอร์ ซึ่งจากการศึกษาและเฝ้าติดตามการ
แสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์นั้น เราพบว่า มีกิจกรรมมากมายในโลกไซเบอร์ที่ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตย
ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆในสังคมที่น�าไปสู่การก่อรูปทางนโยบาย การต่อรองกับ
การก�าหนดนโยบายของรัฐท�าก�าลังจะเริ่มขึ้นและปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างส�านึก
ใหม่ๆ ของพลเมืองในการติดตามและตรวจสอบการท�างานของรัฐบาล ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันส�าคัญว่า
มิติของความมั่นคง และ พัฒนา นั้นไม่ควรเป็นเพียงสองมิติหลักของการพัฒนาโลกไซเบอร์ แต่มิติของประชาธิปไตย
ในโลกไซเบอร์นั้นมีความส�าคัญ และ ยกระดับคุณภาพของประชาธิปไตยของประเทศในปัจจุบัน ดังจะเห็น
ได้จากโลกออนไลน์ยังได้ท�าให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลหลายประการ
แม้ในช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ค. 2557- ต.ค. 2561 ซึ่งเป็นปีที่เขียนบทความฉบับนี้) ประเทศไทย
จะอยู่ในระบบอ�านาจนิยม ซึ่งไม่มีตัวแทนในการก�าหนดนโยบายหรือบริหารประเทศที่มาจากประชาชน แต่เรา
พบความส�าเร็จของภาคประชาชนในการต่อรองกับภาครัฐ ผ่านสื่อดิจิทัล หรือโซเชียลมีเดีย เช่น การเข้มงวด
กับกฎหมายการห้ามนั่งท้ายรถกระบะ (คมชัดลึก, “ห้ามนั่งแค็บ-ท้ายกระบะ”ก่อนใช้ม.44แนะถามชาวบ้าน,
2561) (กรุงเทพธุรกิจ, ‘ดราม่าห้ามนั่งท้ายกระบะ’เมื่อกฎหมายไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต, 2560) การปฏิรูปรถเมล์
(กระปุก, 2560) (มติชน, 2560) (พลวุฒิ สงสกุล, 2560) การขอคืนพื้นที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ