Page 182 - kpi20440
P. 182

KPI Congress 20th
           182
                    2018
              Thai Democracy on the Move




             พระชนมพรรษา (สวนพระราม 3) (ธนกร วงษ์ปัญญา, 2560) และการต่อต้านซิงเกิลเกตเวย์ (Thaipublica,

             2558) ซึ่งทั้ง 4 กรณีนี้เป็นเหตุการณ์จริงที่ท�าให้เห็นว่า อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ท�าให้ภาคประชาชนสามารถสื่อสาร
             กับรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นวิธีการยั่วล้อ ในกรณีของการเข้มงวดกับกฎหมายการห้ามนั่งท้ายรถกระบะ การปฏิรูป

             รถเมล์ การรณรงค์ผ่านแอพพลิเคชั่น Change.org ส่วนในกรณีของการขอคืนพื้นที่สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
             6 รอบพระชนมพรรษา (สวนพระราม3) นั้น ใช้วิธีการในการหาข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการเพื่อเจรจาเปลี่ยนแปลง

             นโยบาย หรือการใช้ความรุนแรงในกรณี การต่อต้านซิงเกิลเกตเวย์ ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย
             ภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งทั้ง 4 กรณีนี้ได้ท�าให้ภาครัฐยินยอมที่จะชะลอ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อให้

             สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน


                      นอกจากนี้ยังพบว่า อินเตอร์เน็ตยังเป็นช่องทางให้ภาคประชาชนได้ตรวจสอบการท�างานของภาครัฐ
             และติดตามการตรวจสอบดังกล่าว เช่นที่ปรากฏในโครงการอาหารกลางวันเด็ก (ปปช. ลุยสอบแล้ว ทุจริตอาหาร
             กลางวันเด็ก, 2561) (ไทยพีบีเอส, 2561) (ไทยรัฐ, สถ.ชู 4 มาตรการเข้ม! ถอดบทเรียนอาหารกลางวันเด็ก

             ตอบโจทย์ให้มีคุณภาพ, 2561)และการทุจริตเงินช่วยเหลือคนจน (Workpointnews, ไล่เรียงเหตุการณ์ ฮีโร่ชุด

             นักศึกษา เปิดโปงโกงเงินคนจน, 2561) (Workpointnews, แก้ปัญหาโกง! กรมบัญชีกลางโอนเงินตรงเข้าบัญชี
             คนจน, 2561) (ไทยรัฐ, ปปท.จ่อเอาผิด ผอ.ศูนย์ไร้ที่พึ่ง ‘โกง’เงินคนจน กับพวกอีก5คน, 2561) (มติชน, เปิด
             ประวัติ ‘พุฒิพัฒน์’ อดีตปลัดพม. เผชิญมรสุม ‘เงินคนจน’ ก่อนตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง, 2561) ซึ่งสองโครงการ

             นี้เป็นตัวอย่างการตรวจสอบการทุจริตของภาครัฐ ที่มีที่มาจากการให้ความสนใจบนโลกออนไลน์ ซึ่งในส่วนของ

             โครงการอาหารกลางวันเด็กนั้น เรื่องเกิดขึ้นจากการที่ได้มีการโพสภาพเด็กที่กินอาหารกลางวันเป็นขนมจีนกับ
             น�้าปลา ซึ่งน�ามาสู่ความสนใจของโลกออนไลน์ อันน�าไปด�าเนินการต่าง ๆ เช่น การออกค�าสั่ง และนโยบายที่
             เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับประเทศ และในส่วนของการทุจริตเงินคนจนนั้น การที่โลกออนไลน์

             ให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของการร้องเรียนเรื่องดังกล่าว ได้ท�าให้การตรวจสอบเรื่องการทุจริตเงิน

             คนจนได้ขยายผลไปทั่วประเทศ และน�าไปสู่การพิจารณาคดีของบุคคลหลายคนที่เกี่ยวข้อง

                      เช่นเดียวกับในส่วนของโครงการก้าวคนละก้าว ที่แม้ว่าจะเริ่มต้นมากิจกรรมของบุคคลสาธารณะคนหนึ่ง

             ที่วิ่งทั่วประเทศเพื่อหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาล แต่การวิ่งของเขา และการที่กระทรวงสาธารณสุขได้
             รวบรวมเงินบริจาคไปช่วยกิจการด้านสาธารณสุข ได้น�าไปการถกเถียงในวงกว้างในเรื่องของปัญหาในโครงสร้าง

             ระบบสาธารณสุขของประเทศ น�าไปสู่การตั้งค�าถามและการถกเถียงของโครงการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน
             หน้า (HFocus, 2560) (เอกพล บันลือ, 2561) (ไทยพีบีเอส, ปปช. ลุยสอบแล้ว ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก, 2561)
       เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
             (กรุงเทพธุรกิจ, จัดสรรเงินบริจาค “ก้าว” ให้ 11 โรงพยาบาลแล้ว!!, 2561)


                      แม้จะมีกิจกรรมมากมายในโลกไซเบอร์ที่ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะ
             การเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆในสังคมที่น�าไปสู่การก่อรูปทางนโยบาย การต่อรองกับการก�าหนดนโยบายของ

             รัฐท�าก�าลังจะเริ่มขึ้นและปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างส�านึกใหม่ๆ ของพลเมืองในการ
             ติดตามและตรวจสอบการท�างานของรัฐบาล ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันส�าคัญว่า มิติของความมั่นคง และ

             พัฒนา นั้นไม่ควรเป้นเพียงสองมิติหลักของการพัฒนาโลกไซเบอร์ แต่มิติของประชาธิปไตยในโลกไซเบอร์นั้น
             มีความส�าคัญ และ ยกระดับคุณภาพของประชาธิปไตยของประเทศในปัจจุบัน
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187