Page 185 - kpi20440
P. 185
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า 185
ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
ของรัฐ การจารกรรมข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลที่ส�าคัญต่ออธิปไตยของประเทศ การโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน
ส�าคัญของรัฐโดยมีจุดมุ่งหมายท�าให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้ การจารกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ต่อรัฐ การโจมตีแบบต่อเนื่องขั้นสูง โดยการโจมตีทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในหลายปีที่ผ่านมา มุ่งไปที่
ข้อมูลที่ภาครัฐจัดเก็บ เช่น ข้อมูลบัตรประจ�าตัวประชาชน และที่ส�าคัญคือในปัจจุบัน ระบบสาธารณูปโภคและ
ระบบการป้องกันประเทศมีการใช้งานผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ถ้าภาครัฐไม่มีการจัดการ
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รัฐและประชาชนอาจจะประสบปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว
การจารกรรมข้อมูล และการขาดความปลอดภัยในการใช้บริการสาธารณะ
อย่างไรก็ตามการรับมือกับภัยคุกคามของโลกไซเบอร์ต่อระบบเครือข่ายภาครัฐต้องตระหนักว่า
การบริหารจัดการกับโลกไซเบอร์มีความแตกต่างจากการบริหารในโลกเชิงกายภาพที่สามารถควบคุมขอบเขต
ของปัญหาได้ แต่โลกไซเบอร์ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนท�าให้ควบคุมได้ยาก การปรับปรุงกฎหมายและก�าหนดนโยบาย
เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์เป็นเรื่องส�าคัญที่รัฐบาลของทุกประเทศต้องพัฒนาให้เท่าทันกับ
ปัญหาที่เกิดขึ้น
จากสาเหตุที่โลกอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเราในแทบ
ทุกมิติ ด้วยเหตุนี้ในการสร้างคุณค่าของประชาธิปไตยให้มากขึ้น จึงต้องมีการให้ความส�าคัญกับการสร้างระบบ
ความมั่นคงปลอดภัยให้กับประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น สร้างภาวะที่ปลอดภัย และสร้างความเป็นส่วนตัว
ให้กับประชาชน ซึ่งจะเชื่อมโยงให้กับความมั่นคง และความเชื่อมั่นในการแสดงความคิดเห็นให้กับประชาชนได้
อันจะน�าไปสู่การสร้างคุณค่าของประชาธิปไตย
4. ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความรู้
ในแง่หนึ่ง อินเตอร์เน็ตช่วยลดก�าแพง หรือช่องว่างในการเรียนรู้ เพราะเป็นช่องทางที่ใครก็สามารถ
เข้ามาค้นหาข้อมูล แชร์ข้อมูล หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการหลง
ในข้อมูลที่ผิด ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมคุณค่าของประชาธิปไตยด้วยประชาธิปไตยไซเบอร์นั้น จะต้องตระหนักถึง
การส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความรู้ด้วยการรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) การให้การศึกษาในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ
จะช่วยให้ประชาชนมีความรู้ที่ดีมากขึ้นเกี่ยวกับสื่อ และสามารถประเมินคุณค่าของข้อมูลต่าง ๆ ได้ การรู้เท่าทันสื่อ
จึงเป็นการเสริมสร้างพลังให้กับพลเมือง เป็นการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และปลี่ยนแปลงบทบาท
จากการที่เคยเป็นประชาชนธรรมดาที่คอยรับสาร (passive) ให้กลายมาเป็นผู้รับสื่อที่มีความคิดเห็น และสามารถ
วิพากษ์วิจารณ์ต่อสาร (active) หรือจากการเป็นผู้รับสื่อ (recipient) กลายเป็นผู้มีส่วนร่วม (participant)
ในสื่อ และจากผู้บริโภค(consumer) ให้กลายมาเป็นพลเมือง (citizen) และยังช่วยให้ประชาชนสามารถท�าความ
เข้าใจโลกได้มากขึ้น ในสถานการณ์ที่มีข้อมูลล้นหลามในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่ท�าให้
ความขัดแย้งและความเกลียดชังทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย อคติ การเพิกเฉยต่อความจริง และการไม่ใช้เหตุผล
ในการติดต่อสื่อสารกัน