Page 184 - kpi20440
P. 184

KPI Congress 20th
           184
                    2018
              Thai Democracy on the Move




             อินเตอร์เน็ตยังได้ท�าให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคล (peer to peer collaboration) ที่ท�าให้เกิดรูปแบบของ
             การสร้างเนื้อหาหรือ content ที่เกิดจากผู้ใช้ (User-Generated Content – UGC) คือการที่ผู้คนกลายมาเป็น

             ผู้ผลิตเนื้อหาสื่อ ซึ่งได้สร้างภูมิทัศน์สื่อให้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ อินเตอร์เน็ต ได้เข้ามาสร้างการสื่อสารที่เป็น

             แบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (interactive media) ที่จะสร้างการติดต่อสองทางระหว่างผู้รับสาส์นและผู้ส่งสาส์น
             เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตช่วยสื่อสารประเด็นทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อสาธารณะที่
             ส�าคัญให้กับประชาชนทุกคน (Filzmaier, 2002)


                      ประชาธิปไตยไซเบอร์ จึงเข้ามาช่วงส่งเสริมคุณภาพของระบอบประชาธิปไตย โดยการเป็นช่องทางใน

             การท�าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบการเมืองในทั้ง 2 มิติ ทั้งการน�าเสนอความต้องการเข้าระบบการเมือง
             และการตรวจสอบการท�างาน และประเมินนโยบายของรัฐบาลแบบ real time


                      2.  พัฒนาสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองให้เพิ่มมากขึ้น


                      ในแง่มุมหนึ่ง ประชาธิปไตยไซเบอร์ได้สร้างช่องทางในการมีส่วนร่วม โดยอยู่บนพื้นฐานของการสร้าง

             คุณค่าของสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง โดยต้องพัฒนาหลักการพื้นฐานร่วมกันที่ให้ประชาชนมีบรรทัดฐานร่วมกัน
             ในการแสดงความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองคนอื่น ซึ่งสอดคล้องกับงาน

             วิจัยของพิรงรอง รามสูต และ นิธิมา คณานิธินันท์ (2547) และ สาวตรี สุขศรี (2555) ว่า กฎหมายไม่ได้
             เป็นเครื่องมือในการควบคุมเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น แม้ว่าในความเป็นจริงยังมีประชาชนจ�านวนหนึ่ง

             ที่โพสข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หรือใส่ร้ายกันผ่านทางสื่อดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันทางการเมือง
             ยังคงเป็นไปนอกระบบสถาบันการเมือง หรือประเทศที่รัฐบาลในบางประเทศจะบกพร่องในเรื่องการให้

             สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งท�าให้ประชาชนได้ใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการต่อต้านรัฐบาล
             จนน�าไปสู่การใช้ความรุนแรง หรือการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างสุดขั้ว เช่นกรณีทีเกิดขึ้นในหลายประเทศภายหลังจาก

             การปฏิวัติดอกมะลิที่ตูนีเซีย หรืองานวิจัยของ มัทนา นันตา (2556) และสุธาสินี พลอยขาว (2551) ที่พบว่า
             สื่ออินเตอร์เน็ตได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความเกลียดชัง


                      ด้วยเหตุนี้การที่ประชาธิปไตยไซเบอร์ จะช่วยสร้างคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องอยู่บน

             พื้นฐานของการที่สังคมจะต้องสร้างบรรทัดฐานที่จะพัฒนาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น โดยที่ให้
             สื่อดิจิทัล หรือ โลกโซเชียลเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นของประชาขน ในระดับที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิ

             และเสรีภาพของผู้อื่น
       เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
                      3.  การสร้างเสถียรภาพให้กับระบบอินเตอร์เน็ต



                      การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น แน่นอนว่าท�าให้รัฐมีความเสี่ยงกับภัยคุกคาม
             ร้ายแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทาง ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านการทหาร และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
             จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ การก่อการร้ายทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการคุกคามต่อโครงสร้างพื้นฐานที่ส�าคัญ
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189