Page 179 - kpi20440
P. 179
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า 179
ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
อันดับสองคือ เนื้อหาและภาพลามกอนาจาร (ร้อยละ 24) ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับยาและ
การท�าแท้งด้วยตนเอง เนื้อหายุยงให้เล่นการพนัน ดูหมิ่นศาสนา เว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Pharming) และเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่อาจท�าให้ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์การควบคุมและสลายการชุมนุม
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
งานวิจัยดังกล่าวได้สรุปผลกระทบของการใช้ มาตรา 14(1) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทไว้ว่า เป็นการ
บังคับใช้กฎหมายที่ซ�้าซ้อน เนื่องจากความผิดฐานหมิ่นประมาทมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว
มีอัตราโทษที่สูง โดยความผิดตามมาตรา 14(1) มีอัตราโทษจ�าคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ขณะที่
ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีอัตราโทษจ�าคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดย
การโฆษณามีอัตราโทษจ�าคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อน�าพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา
14(1) มาใช้ฟ้องร้องในประเด็นการหมิ่นประมาทจึงท�าให้จ�าเลยต้องแบกรับอัตราโทษที่หนักขึ้น นอกจากนี้
ยังเป็นคดีที่ยอมความไม่ได้ คดีหมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว คดีจ�านวนไม่น้อยเมื่อขึ้นสู่ชั้นศาลแล้วสามารถ
ตกลงชดใช้ค่าเสียหาย หรือกล่าวขอโทษกัน ก็ท�าให้คดีความจบกันไปได้ แต่ความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา
14(1) ไม่ใช่ความผิดที่ยอมความได้ แม้ผู้เสียหายกับจ�าเลยตกลงกันได้จนคดีหมิ่นประมาทจบลงแล้ว ความผิด
ตามมาตรา 14(1) ก็ยังต้องด�าเนินคดีต่อไป ส่งผลกระทบต่อตัวจ�าเลยและท�าให้คดีรกโรงรกศาลโดยไม่จ�าเป็น
งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่า ไม่มีหลักเรื่องความสุจริตหรือประโยชน์สาธารณะ ตามประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 329-330 การหมิ่นประมาทที่กระท�าไปโดยการติชมด้วยความสุจริต หรือการวิพากษ์วิจารณ์ที่
เป็นประโยชน์สาธารณะ เป็นเหตุยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษได้ แต่ความผิดตามมาตรา 14(1) แม้เป็นการ
ใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม ก็ไม่สามารถอ้างเหตุ
เหล่านี้ขึ้นต่อสู้คดีได้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ในแง่หนึ่งก็คือ คุกคามเสรีภาพสื่อ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อออนไลน์เกิดขึ้นมาก แม้แต่
สื่อกระแสหลักก็พัฒนาช่องทางออนไลน์ให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร เมื่อมีคดีความหมิ่นประมาทเกิดขึ้น
มาตรา 14(1) ก็มักถูกฟ้องพ่วงเข้าไปด้วย ซึ่งเพิ่มภาระของสื่อหรือผู้ถูกกล่าวหาในการสู้คดี และปัจจุบันแนวโน้ม
การฟ้องร้องสื่อ ด้วยมาตรา 14(1) ก็มีสูงขึ้น กระทบต่อการบรรยากาศการใช้เสรีภาพในสังคมไปด้วย
งานวิจัยทั้งสองชิ้นนี้ สอดคล้องกับงานศึกษาของ สุวิชาภา อ่อนพึ่ง (2554) ซึ่งพบว่า ได้เกิด
มาตรการทางสังคมต่อผู้กระท�าผิด เช่น การล่าแม่มด แต่การตีความค�าว่าความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
อันดีของประชาชนไม่ควรน�ามาใช้ตราบใดที่การแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกใด ๆ ยังอยู่ในกรอบของ
กฎหมาย และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องมีส่วนรับผิดหากมีการกระท�าความผิดด้าน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
จึงเห็นได้ว่า งานศึกษาประเภทที่สองและสามนั้น เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันทางการเมืองและ
การปกครองในช่วงที่ผ่านมา ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของโลกไซเบอร์ จะเห็นได้จากการออกกฏหมายจ�านวนมากที่
จ�ากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในโลกอินเตอร์เน็ต และ การด�าเนินคดีทางการเมืองต่อกิจกรรมทางการเมือง
ที่เชื่อมโยงกับการแสดงความเห็นในโลกไซเบอร์ ซึ่งไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดคุณภาพของประชาธิปไตย แต่กลายเป็น