Page 175 - kpi20440
P. 175

การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า    175
                                                                                         ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
                                                                               ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา




                  บทน�ำ




                          บทความฉบับนี้ตั้งอยู่บนข้อถกเถียงส�าคัญของวงการวิชาการ ที่ฝ่ายหนึ่งมองว่า อินเตอร์เน็ตช่วย
                  สร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ ผ่านการแสดงความเห็นของประชาชนบนสื่อดิจิทัล ช่วยเสริมสร้างคุณภาพของ

                  การให้บริการภาครัฐ และสร้างช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลและความพึงพอใจของประชาชนให้กับภาครัฐและ
                  นักการเมือง ซึ่งเป็นตัวเชื่อมผู้เล่นที่ส�าคัญในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยไซเบอร์


                          แต่ในอีกทางหนึ่งมีงานเขียนอีกชุดหนึ่งที่โทษว่า อินเตอร์เน็ตหรือประชาธิปไตยไซเบอร์นั้นไม่ได้สร้าง

                  คุณค่าให้กับระบอบประชาธิปไตย อย่างมากเพียงเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้คนมาชุมนุมกันเท่านั้น ในขณะเดียวกัน
                  กลับเป็นสิ่งที่สร้างความเหลื่อมล�้าและความเกลียดชัง รวมทั้งเป็นจ�าเลยต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ปัจจุบัน เช่น

                  ประทุษวาจา (hate speech), การเมืองที่เพิกเฉยต่อความเป็นจริง (Post Truth Politics) ซึ่งล้วนแล้วแต่ท�าให้
                  ความขัดแย้งที่เป็นอยู่แย่ลงไปมากขึ้น


                          จึงน�ามาสู่การค้นคว้าว่า ข้อถกเถียงดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานใดบ้าง และมีกรณีศึกษา หรือเหตุผลใด

                  ที่สนับสนุนข้อถกเถียงทั้งสองข้างต้น ซึ่งท�าให้เราได้ข้อเสนอของประชาธิปไตยไซเบอร์ที่จะช่วยสร้างประชาธิปไตย
                  ที่มีคุณภาพได้ในที่สุด




                  จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตกับควำมสอดคล้องกับ

                  คุณค่ำของระบอบประชำธิปไตย




                          ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ เซอร์ ทิม เบอร์เนอร์-ลี (Sir Tim Berners Lee) ในการคิดค้นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

                  ในปี ค.ศ. 1989 อินเตอร์เน็ตได้ท�าให้คอมพิวเตอร์ที่เคยอยู่กันเป็นเอกเทศ สามารถเข้ามาเชื่อมโยงติดต่อ
                  ส่งข้อมูลกันได้ ท�าให้โลกที่มีอินเตอร์เน็ตไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป


                          มูลนิธิ World Wide Web กล่าวว่า การใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นมาจากการคิดค้นของทิม อยู่บน

                  พื้นฐานของคุณค่าต่าง ๆ ได้แก่ การกระจายอ�านาจ การไม่เลือกปฏิบัติ การออกแบบจากล่างขึ้นบน ความเป็น
                  สากล และความเป็นเอกฉันท์ (World Wide Web Foundation, 2018) ซึ่งหากพิจารณาคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้

                  ท�าให้เห็นว่า อินเตอร์เน็ตมีคุณค่าที่สอดคล้องต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย


                          ในยุคแรก ๆ นั้น ประชาชนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีบนอินเตอร์เน็ตบนพื้นฐาน
                  ของความเป็นสากล และปราศจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย โดยนักวิชาการเช่น Rheingold, (1993); Shapiro,

                  (1999); Margolis (2006) และ Côté (2004) ซึ่งได้ศึกษาการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อยู่หลายกรณี
                  ต่างพากันมองเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นบนสื่อดิจิทัลช่วยสร้างคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ช่วยสร้าง
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180