Page 178 - kpi20440
P. 178
KPI Congress 20th
178
2018
Thai Democracy on the Move
ประชาธิปไตย โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคง และการสร้างประทุษวาจา ซึ่งเป็นช่องทางในการสร้างการแบ่งขั้ว
อย่างรุนแรง และการโจมตีกันด้วยข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ
งานศึกษาประเภทดังกล่าว เช่น กานต์ ชีวสาธน์ (2556) มองว่า ปรากฎการณ์บางอย่างบน
โลกโซเชียลท�าได้แค่การกระทบกระแนะกระแหน โดยไม่ได้สร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้งานวิจัยของคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา (2555) ซึ่งมองอินเตอร์เน็ตในฐานะเครื่องมือที่
จะสร้างผลลบต่อความมั่นคงของชาติใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านการทหาร และปัญหา
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ มัทนา นันตา (2556) และ สุธาสินี พลอยขาว (2551) ได้
ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารความเกลียดชังบนยูทูปภาษาไทย และกระดานสนทนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบ
ด้านลบของประชาธิปไตยจากสื่อดิจิทัล
งานวิจัยประเภทสุดท้าย เป็นงานวิจัยที่เล็งเห็นปัญหาของอินเตอร์เน็ตในฐานะเครื่องมือของภาครัฐ
หรือองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเอกชน ที่เข้ามาละเมิด หรือก�ากับเสรีภาพหรือความเป็นส่วนตัวของประชาชน โดย
พิรงรอง รามสูต และ นิธิมา คณานิธินันท์ (2547) พบว่า การปิดกั้นเว็บไซต์ และการใช้กฎหมายเป็นหลักในการ
ควบคุมหรือสร้างบรรทัดฐานในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ เป็นแนวทางที่ไม่เหมาะสมในระยะยาว
และเสนอแนะว่า รัฐ หรือ สังคม ควรจะมีแนวทางที่ไม่ใช่กฎหมาย มาสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับการแสดงความคิด
เห็นบนสื่อออนไลน์ หรือสื่อสังคม หรืออาจพิจารณาน�าชุดคุณค่าทางสังคมอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรม จารีต ความ
เชื่อมั่น ความไว้วางใจ หรือความสัมพันธ์ทางสังคมที่ท�าให้เกิดคุณค่าบางอย่างที่สามารถยึดโยงและยอมรับร่วม
กันมาเป็นเครื่องมือในการก�ากับ ในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มากกว่า
งานวิจัยของพิรงรองและนิธิมา สอดคล้องกับการค้นพบของ สาวตรี สุขศรี (2555) ที่ได้มองเห็น
ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมอินเตอร์เน็ตว่า ได้ท�าให้เกิดผลเสียต่อทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง
รัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกัน ซึ่งในการศึกษาของสาวตรี ได้พบผลกระทบ
จากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐกับสิทธิ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นระยะเวลา 4 ปี
6 เดือน ที่ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 มีผลบังคับใช้ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีคดีความตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
2550 จ�านวนทั้งสิ้น 325 คดี เมื่อขึ้นถึงชั้นศาลแล้ว พบว่าเป็นความผิดต่อตัวระบบ (อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
โดยแท้) ตามมาตรา 5-13 คิดเป็นร้อยละ 19 ของคดีทั้งหมด เป็นความผิดอันเกิดจากการเผยแพร่เนื้อหาตาม
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
มาตรา 14-16 คิดเป็นร้อยละ 66.15
มีทั้งคดีที่ตั้งข้อหาโดยอาศัยบทบัญญัติใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 เพียงฉบับเดียว และคดีที่ใช้
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ 2550 ประกอบกับความผิดตามกฎหมายฉบับอื่น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา โดยการ
ระงับการเผยแพร่เนื้อหา หรือการปิดเว็บไซต์โดยอาศัยมาตรา 20 ผ่านค�าสั่งศาลจ�านวน 156 ฉบับ จ�านวนทั้ง
สิ้น 81,213 ยูอาร์แอล เนื้อหาที่ถูกปิดกั้นอันดับหนึ่ง คือ เนื้อหาและภาพดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์
พระราชินี และรัชทายาท (ค�าสั่งศาล 90 ฉบับ ให้ระงับการเข้าถึง 60,790 ยูอาร์แอล หรือร้อยละ 75) และ