Page 177 - kpi20440
P. 177
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า 177
ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
แม้แต่เรื่อง การเพิกเฉยต่อความจริง (Post-Truth Politics) ซึ่งเป็นค�าศัพท์แห่งปี ค.ศ. 2016 นั้น
ได้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของสื่อออนไลน์ และ “ถูกใช้อย่างแพร่หลายระหว่างการลงประชามติให้อังกฤษอยู่หรือ
ออกจากสหภาพยุโรป และการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา ที่ถูกใช้ในโลกออนไลน์มากขึ้นถึง 2,000%” (กานท์กลอน
รักธรรม, 2016) นอกจากนี้การวิเคราะห์ของ the economist ยังมองว่า สาเหตุของการเพิกเฉยต่อความจริง
นั้นมาจากบทบาทของการเคลื่อนไหวภาคประชาชน (populist movement) ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของสื่อสังคม
ออนไลน์ (social media) ซึ่งท�าให้ปัจเจกบุคคลมีโอกาสมากขึ้นที่จะสร้างกระบวนการความคิดของตัวเองอยู่บน
พื้นฐานของ “ความเห็น” และ “อคติ” ซึ่งผู้น�าการเมืองหลายคนพร้อมที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิดเช่นนี้อยู่แล้ว
ในกลุ่มนักวิชาการที่มีความเห็นในแง่ลบต่อสื่อดิจิทัลในโลกประชาธิปไตยนั้น Lynch (2013) ได้
วิเคราะห์ผลกระทบด้านลบของประชาธิปไตยไซเบอร์ กรณีศึกษา อาหรับสปริง ว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์
มีศักยภาพแค่เพียงการเป็นช่องทางที่นัดแนะหรือชักชวนให้คนมารวมกันชุมนุมประท้วง มากกว่าเรื่องของการก่อร่าง
สร้างประชาสังคมและพรรคการเมือง ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่ถาวร นอกจากนี้เขายังวิเคราะห์ว่าในหลาย
กรณี ขบวนการทางสังคมที่มีพื้นฐานจาก Social Media อาจจะไม่มีความพร้อมในการที่จะเผชิญกับการค้นหา
ผู้น�าการเปลี่ยนแปลง การมียุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ หรือ สนใจในกระบวนการประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ
การชุมนุมประท้วงอาจจะเน้นไปในทิศทางของเครือข่ายแห่งการสะท้อนให้เห็นความโกรธแค้นชิงชัง ซึ่ง Lynch
ได้เสนอในบทความของเขาว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์กลับเป็นผลลบต่อประชาธิปไตย โดยท�าให้กระบวนการแบ่ง
ขั้วในแบบที่เต็มไปด้วยอันตราย (dangerous polarization) และท�าให้คู่ขัดแย้งนั้นถอยกลับไปสู่ต�าแหน่งของ
การเผชิญหน้า และ โจมตีกันด้วยค�าพูดและโวหาร มากกว่าที่จะร่วมกันสร้างพื้นที่ในการมาสนทนากัน
ส�าหรับประเทศไทยนั้น มีนักวิชาการหลายคนที่ศึกษาการแสดงความเห็นบนสื่อดิจิทัลเช่นกัน โดย
จากการส�ารวจเอกสารในช่วงระยะเวลาราวทศวรรษกว่าที่ผ่านมาจะสามารถแบ่งการศึกษาสื่อดิจิทัลที่เกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยได้เป็น 3 ประเภท ประเภทที่หนึ่งเป็นการศึกษาผลกระทบของประชาธิปไตยหลังจากการใช้อินเตอร์เน็ต
โดยการศึกษาบางส่วนมองว่า อินเตอร์เน็ตได้ท�าให้เกิดการขยายตัวของการแสดงความคิดเห็นได้จริง ๆ และในแง่นี้
สื่อดิจิทัล หรือการแสดงความเห็นบนอินเตอร์เน็ตได้ส่งเสริมคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย เช่น ยุทธพร อิสรชัย
(2544) และ รัชนีกร ทองทิพย์ (2548) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิทยานิพนธ์ของ ณัฐกานต์ กูลณรงค์ (2551) ซึ่งมี
การเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าสื่อดิจิทัลได้เป็นช่องทางเลือกของผู้ที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาล เนื่องจาก
สื่อหลัก (เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์) ที่มักจะถูกควบคุมโดยรัฐบาล ในขณะที่ ซึ่งเสริมด้วยงานวิจัยของ
ชาญชัย ชัยสุขโกศล (2552) ที่ได้เสนอแนะว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์จะน�ามาซึ่งการต่อสู้ทางการเมืองแบบสันติธรรม
ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งเสริมคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งงานศึกษาประเภทนี้สอดคล้องกับการมองอินเตอร์เน็ตใน
แง่ของการสร้างคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดี งานศึกษาประเภทที่สองและที่สาม มองสื่ออินเตอร์เน็ตแตกต่างออกไปจากประเภทแรก
โดยงานศึกษาประเภทที่สองมองว่า ในบางกรณี อินเตอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางที่ลดทอนคุณค่าของระบอบ