Page 183 - kpi20440
P. 183
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า 183
ครั้งที่ 20 ประจำาปี 2561
ประชาธิปไตยไทย: ก้าวย่างเพื่อการพัฒนา
อย่างไรก็ดี นอกจากพลังของโลกโซเชียลมีเดียที่มีต่อนโยบายของรัฐ ซึ่งเป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย
แล้ว ในอีกแง่มุมหนึ่งเช่นเดียวกันที่ เทคโนโลยีการสื่อสาร ได้ก่อให้เกิดปัญหาของระบอบประชาธิปไตย โดยน�า
ไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่รัฐได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ
ของประชาชน เช่น กองทัพเรือฟ้องบริษัทภูเก็ตหวาน กรณีพระสนิทวงศ์โพสเฟซบุ๊ควิจารณ์ดีเอสไอ กรณี
คุณนริศราวัลถ์โพสต์ข้อมูลเรื่องซ้อมทหารเกณฑ์ หรือกรณีที่เอกชนเกี่ยวข้องกับการละเมิดกันเอง เช่นกรณี
โรงงานผลไม้กระป๋องกับอานดี้ ฮอลล์ และกรณีคุณสมลักษณ์โพสต์เฟซบุ๊ควิจารณ์เหมืองทองค�า จังหวัดพิจิตร
เป็นต้น แต่ประเด็นต่าง ๆ ที่ผ่านมานี้ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังอันมหาศาลของอินเตอร์เน็ตที่เป็นเครื่องมือ
หรือช่องทางทางอ�านาจของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม ในการเจรจาทางอ�านาจ
จะใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนำประชำธิปไตยได้อย่ำงไร
เมื่อได้มีการวิเคราะห์ถึงนัยยะของประชาธิปไตยไซเบอร์ซึ่งมีมากมายแล้ว จะพบว่าประชาธิปไตย
ไซเบอร์นั้น คือประชาธิปไตยในอีกมิติหนึ่ง ที่อยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารในรูปแบบใหม่ ที่มีแนวโน้มที่จะอยู่
บนสังคมแบบฐานความรู้ การกระจายอ�านาจ ความหลากหลาย และการสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ
แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมาก็ท�าให้เห็นว่า การแสดงความคิดเห็นบนสื่อโซเชียลไม่ได้สร้างเพียงประชาธิปไตย
ที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่มันได้สร้างภาวะของความกดดัน การใช้ถ้อยค�าประทุษวาจา การสร้างความเป็นฝักฝ่าย
การเผยแพร่ข่าวลวง ตลอดจนการที่ภาครัฐ และภาคเอกชน ได้น�าโซเชียลมีเดียมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้น
การแสดงความคิดเห็นของภาคประชาชน
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ท�าให้เห็นว่า ประชาธิปไตยบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่ทุกเรื่องของประชาธิปไตย การพัฒนา
คุณภาพของประชาธิปไตยจ�าเป็นต้องค�านึงถึงมิติหลายมิติที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประชาธิปไตยไซเบอร์
ในส่วนนึ้จึงมีความจ�าเป็นที่จะต้องค้นหาว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์จะเข้ามาสนับสนุนการพัฒนา
ประชาธิปไตยอย่างไร ในการพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อเพิ่มคุณภาพประชาธิปไตยในวันนี้มีมิติที่ควรพิจารณาอยู่ใน
4 มิติที่ส�าคัญ ในห้วงเวลาที่ประชาธิปไตยไซเบอร์ดูจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น และมีลักษณะที่ควบคุมได้ยาก (หรือไม่ได้
ส่วนผลบวกต่อประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเสมอไป) ทั้งนี้ ประชาธิปไตยไซเบอร์ที่จะน�าไปสู่
การสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพนั้น ต้องค�านึงถึงมิติทั้ง 4 ในการส่งเสริมคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ดังนี้
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาสังคมโดยการเพิ่มให้ประชาชน
มีส่วนร่วมกับระบอบการเมืองมากขึ้น
โดยที่อินเตอร์เน็ตจึงเป็นเทคโนโลยีทีเกิดขึ้นมาโดยคุณค่าของหลักการที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย
เช่น หลักการของการกระจายอ�านาจ การปราศจากการเลือกปฏิบัติ การออกแบบจากล่างขึ้นบน ความเป็นสากล
และความเป็นเอกฉันท์ การมีส่วนร่วม และอยู่บนพื้นฐานของการที่ไม่ได้มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ และ