Page 186 - kpi20440
P. 186

KPI Congress 20th
           186
                    2018
              Thai Democracy on the Move




             สรุปสิ่งที่ได้จำกงำนวิจัยฉบับนี้




                      งานวิจัยฉบับนี้เริ่มต้นด้วยค�าถามในข้อถกเถียงที่ว่า ในสภาวะที่เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ตเป็น
             เครื่องมือที่ช่วยเสริมคุณค่าของประชาธิปไตย หรือเป็นเครื่องมือที่สร้างภาวะความถดถอยและความตกต�่าให้กับ
             ประชาธิปไตย โดยนักวิชาการในระดับโลกหลายกลุ่มได้มีความเห็นที่ขัดแย้งกันในข้อเสนอดังกล่าว จากกรณีศึกษา

             หลาย ๆ กรณีเช่น การสร้างประทุษวาจา การสร้างข่าวลวง การแบ่งแยกฝักฝ่าย การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล

             อคติ ซึ่งสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ปัญหาการเมืองในสหรัฐอเมริกา การออก
             จากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร และในกรณีของประเทศไทยด้วย รวมทั้งเรื่องการเพิกเฉยต่อความจริง
             (post-truth politics) ซึ่งอยู่บนสถานการณ์ที่นักการเมืองทั่วโลกพยายามเล่นกลกับความคิดเห็นของประชาชน


                      วิธีการศึกษางานชิ้นนี้เริ่มต้นโดยการวิเคราะห์ข้อถกเถียงส�าคัญ ทั้งในบริบทของประเทศไทยเอง

             และบริบทของการเมืองที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และเหตุผลที่สนับสนุนข้อถกเถียงเหล่านั้น รวมทั้งวิเคราะห์
             สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นด้วย


                      ผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของอินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับบริบทของประชาธิปไตยทั่วโลกที่ก�าลัง

             อยู่ในภาวะตกต�่า เช่นเดียวกับสถานการณ์ประชาธิปไตยของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ดี มีหลายกรณีศึกษาที่
             ท�าให้เห็นว่า อินเตอร์เน็ตและโลกโซเชียลช่วยให้ประชาชนสื่อสารกับรัฐบาลได้มากขึ้น และในท�านองเดียวกัน

             อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการท�าความเข้าใจความต้องการของประชาชน ในหลายกรณียังเป็น
             เครื่องมือตรวจสอบการท�างานภาครัฐ และข้าราชการด้วย บนสถานการณ์ที่สื่อหลักหรือสื่อมวลชน (mass

             media) ไม่สามารถเป็นผู้ผูกขาดความจริง (the authority of truth) ได้อีกต่อไป


                       เมื่อพิจารณาจุดเด่นและข้อจ�ากัดของประชาธิปไตยไซเบอร์ หรือการแสดงความคิดเห็นบนสื่อโซเชียล
             แล้ว ผู้วิจัยเสนอว่า ประชาธิปไตยไซเบอร์ที่จะน�าไปสู่การสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพนั้น ต้องค�านึงถึงมิติ

             ทั้ง 4 ในการส่งเสริมคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมี
             ส่วนร่วมมากขึ้นในทางการเมือง การพัฒนาสิทธิเสรีภาพของพลเมือง การสร้างเสถียรภาพให้กับระบบอินเตอร์เน็ต

             และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอคติ การครอบง�า และความเกลียดชัง




       เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191