Page 95 - kpi20366
P. 95

ในยุคหลังอุตสหากรรมสังคมเริ่มเข้าสู่ยุคสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร การรู้สารสนเทศ

               (Information Literacy) จึงเป็นทักษะของพลเมืองในปัจจุบัน การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้

               ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุก

               รูปแบบ รวมถึงการมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะ
               การใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสื่อได้

               พัฒนาเข้าสู่การสื่อสารแบบดิจิทัล ท าให้เกิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทักษะความเข้าใจและใช้

               เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) จึงมีความส าคัญต่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย

                      “Digital Literacy” หรือการเข้าใจดิจิทัล มีทั้งหมด 9 รูปแบบ ประกอบไปด้วย

                      1. สิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ

                      2. การเข้าถึงสื่อดิจิทัล

                      3. การสื่อสารดิจิทัล
                      4. ความปลอดภัย

                      5. ความเข้าใจสื่อดิจิทัล

                      6. แนวทางในการปฏิบัติดิจิทัล
                      7. สุขภาพดิจิทัล

                      8. ดิจิทัลคอมเมิซ

                      9. กฎหมายทางดิจิทัล
                       ทักษะในแต่ละด้านถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้สื่อดิจิทัลอันจะน าไปสู่การ

               แสดงออกทางการเมืองอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์

               มักขัดแย้งกับทักษะการเข้าใจดิจิทัล เช่น ในเรื่องของการใช้ Hate Speech ในการแสดงความคิดเห็น

               ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในโลกออนไลน์สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจในเรื่อง “สิทธิส่วนบุคคล”

               โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เข้าใจผิดและตีความว่า สิทธิส่วนบุคคลคือความสามารถที่จะโพสต์

               หรือแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็ได้ในโลกออนไลน์โดยไม่ค านึงถึงการไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือท าให้

               ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เป็นต้น ซึ่งการค านึงถึงสิทธิส่วนบุคคลจัดอยู่ในกรอบของสิทธิ เสรีภาพและความ
               รับผิดชอบที่อยู่ในกรอบข้อที่ 1 ของการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy)



                       องค์กร UNESCO ได้นิยามการรู้เท่าทันสื่อ Media and Information Literacy (MIL) ว่าเป็นชุด

               ของสมรรถนะซึ่งเสริมสร้างพลังให้พลเมืองที่จะเข้าถึงข้อมูล (Accessibility) เข้าใจ ประเมินค่า
               (Evaluation)  และ สร้าง (Creation) รวมถึงแบ่งปันสารสนเทศและเนื้อหาในสื่อทุกรูปแบบ โดยมีทักษะ

               การรู้เท่าทันการใช้เครื่องมือสื่อสารที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ มีจริยธรรมและมีประสิทธิผล







                                                           86
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100