Page 96 - kpi20366
P. 96
องค์กร UNESCO ได้พัฒนากรอบการประเมินการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศออกเป็นระดับ
สมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ โดยก าหนดองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อออกเป็น 3
รูปแบบ ได้แก่ กระบวนการเข้าถึงสื่อ (access) กระบวนการเข้าใจ วิเคราะห์ ตีความและประเมินเนื้อหา
ของสื่อ (evaluation) และกระบวนการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ (creation) โดย
องค์กร UNESCO มีการออกแบบส ารวจระหว่างการรู้เท่าทันสื่อกับการเข้าใจดิจิทัลทั่วโลก กรอบความ
เข้าใจดิจิทัลมีประเด็นย่อยค่อนข้างเยอะ เช่น มีการแยกสมรรถนะหลักและสมรรถนะย่อย รวมทั้งหมด
12 ด้าน ซึ่งอาจจะมีสมรรถนะย่อยของแต่ละด้านรวมอยู่ด้วย โดยสามารถน าสมรรถนะมาใช้ในการ
ออกแบบกรอบวิเคราะห์ เพื่อท าตัวชี้วัดในด้านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างได้ อย่างไรก็ตามแต่ละ
ประเทศต้องน าสมรรถนะในแต่ละด้านไปปรับให้สอดคล้องกับการวิธีการศึกษาของตนเอง เช่น อาจน า
สมรรถนะไปผนวกเข้ากับทฤษฎีเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด รวมถึงการท า
แบบสอบถามเพื่อใช้เป็นแบบส ารวจการรู้เท่าทันสื่อของประชากรในแต่ละกลุ่มตัวอย่างได้
5. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากหน่วยงานที่ 5
การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นสื่อทางการเมือง อาจจะต้องท าความเข้าใจนิยามความหมาย
ของค าว่า “การเมือง” ว่าหมายถึงอะไร เนื่องจากการเมืองมีขอบเขตที่กว้าง และไม่ได้สื่อถึงการเลือกตั้ง
เพียงอย่างเดียว แต่การเมืองยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมทาง
สังคม เช่นเดียวกับความหมายของค าว่า “พลเมือง” และค าว่า “สังคมประชาธิปไตย”
โดยทั่วไปการรู้เท่าทันสื่อเป็นสิ่งส าคัญเนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพลเมืองในสังคม
ประชาธิปไตย ซึ่งสามารถช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดความเข้าใจในเรื่องสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ
มีทักษะในการวิเคราะห์ วิพากษ์ ประเมิน ตีความ และแยกแยะเนื้อหาของสื่อ อย่างไรก็ตามการใช้ค าใน
การสื่อความหมายอาจเอื้อต่ออ านาจรัฐ เช่น ค าว่า “ความมั่นคง”หรือ “การเป็นพลเมืองในสังคม
ประชาธิปไตย” เพราะค าเหล่านี้อาจมีผู้ตีความแตกต่างกันซึ่งอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิ
เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนได้
6. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากหน่วยงานที่ 6
ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารที่ถูกผลิตและส่งต่อในสื่อสังคมออนไลน์มีเป็นจ านวนมาก ซึ่งข้อมูลใน
สื่อออนไลน์มีทั้งที่ข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลที่ไม่ใช่ความจริง ดังนั้นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ผู้รับสารจึงจ าเป็นต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะส่งต่อข้อมูลไปให้กับผู้อื่น อย่างไรก็ตามปัญหาการ
ส่งต่อข้อมูลโดยไม่มีการสืบค้นนั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยให้กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวอย่างเช่น เยาวชนบาง
คนรับข้อมูลโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูล ท าให้ไม่ทราบว่าข้อมูลที่รับมานั้นมีความถูกต้องหรือไม่ และ
87