Page 98 - kpi20366
P. 98
7. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนท่านที่ 7
โดยทั่วไปเด็กและเยาวชนมักจะตกเป็นเหยื่อในการบริโภคข้อมูลข่าวสารเนื่องจากไม่ทราบว่า
ข้อมูลเหล่านั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้น ท าให้เกิดการหลงเชื่อโดยง่าย
เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเด็กและเยาวชนจ านวนมากท าการส่ง
ต่อข้อมูลโดยไม่ได้ค านึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การส่งต่อคลิปวิดีโอโดยไม่ได้ท าการสืบค้น
ข้อเท็จจริงว่าคลิปที่ท าการส่งต่อนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร อ้างอิงมาจากแหล่งข่าวไหน การโพสต์ตอบโต้ผู้ที่
มีความคิดเห็นต่างโดยไม่ได้รับฟังรายละเอียดหรือเหตุผลของอีกฝ่าย นอกจากนี้การที่ทุกคนสามารถ
โพสต์หรือคอมเม้นได้อย่างอิสระในโลกออนไลน์ท าให้เกิดการใช้ค า “ประทุษวาจา” (hate speech) ใน
การโจมตีผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา มีการใช้ค าไม่สุภาพ การละเมิดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การใช้
ถ้อยค าดูถูกผู้ที่มีความคิดเห็นต่าง การเลียนแบบพฤติกรรมของศิลปิน ดารา นักร้อง เน็ตไอดอล โดย
ไม่ได้พิจารณาว่าพฤติกรรมเหล่านั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงทางโซเชียล
เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงเด็กและเยาวชนเท่านั้นที่ยังขาดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ แต่บุคคลทั่วไปก็มี
แนวโน้มที่จะคล้อยตามกระแสของสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นทักษะที่มี
ความส าคัญต่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยส าหรับเด็กและเยาวชน เพราะสามารถท าให้เกิด
การกลั่นกรองข้อมูล เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการโพสต์ แชร์ หรือคอมเม้น ช่วยให้เยาวชน
มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการระมัดระวังการใช้ค าพูดมากขึ้น หลีกเลี่ยงการโจมตีหรือพาดพิงถึงผู้อื่น
ในทางที่ไม่เหมาะสม มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งต่อข้อมูล ตลอดจนให้เกียรติและ
เคารพในความคิดที่แตกต่างหลากหลายของผู้อื่น
89