Page 100 - kpi20366
P. 100
3. ท่านคิดว่าบุคคลใดมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อในการแยกความจริงออกจากความเห็น (ตัวชี้วัดที่ 3)
(1) สมคิดท าการเปรียบเทียบวิธีการน าเสนอข่าวระหว่างสื่อส านักต่างๆ โดยมองว่า สื่อที่มีการ
พูดแสดงความคิด ความรู้สึก หรือใช้การคาดคะเน พูดถึงผู้อื่นในทางที่ไม่ดี โดยไม่มีหลัก
ฐานรองรับมักน าเสนอข่าวที่ตั้งอยู่บนความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง
(2) มีนา มองว่าข้อมูลที่แชร์กันบนอินเตอร์เน็ตมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลที่เป็น
ความเห็น การแยกแยะขึ้นอยู่กับตัวของผู้รับสารเองว่าจะพิจารณาแยกแยะข้อมูลดังกล่าว
อย่างไร หากข้อมูลตรงกับทัศนคติทางการเมืองของผู้รับสาร ข้อมูลเหล่านั้นมักเป็น
ข้อเท็จจริง
(3) ทรงพลได้อ่านข้อความที่ส่งต่อมาจากผู้อื่น และตัดสินว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อเท็จจริง เนื่องจาก
มีบุคคลส าคัญของรัฐบาลออกมายืนยันสนับสนุน โดยไม่ท าการตรวจสอบแหล่งข่าวแหล่งอื่น
แต่อย่างใด
(4) ทศพล อ่านข้อความที่เขียนว่า “คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน” แล้วทึกทักว่าข้อความนี้เป็น
ความจริง ท าให้เกิดทัศนคติทางการเมืองที่ไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน 1
สิทธิ
4. ก้องอ่านข่าวในเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ มีเนื้อหาว่า “เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพรรคการเมืองหนึ่งได้
ปราศรัยหาเสียงบนเวที เมื่อลองฟังดูเนื้อหาแล้ว พบว่าผู้ปราศรัยมีวัตถุประสงค์ในการพูดเพื่อ
ท าลายความชอบธรรมของพรรคฝ่ายตรงข้าม มีการกล่าวเกินจริง และไม่มีหลักฐานยืนยัน” แต่
ก้องคิดว่าเนื้อหาข่าวดังกล่าวอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่น าเสนอ เนื่องจากก้องติดตามข่าว
การเมือง และทราบมาว่าพรรคดังกล่าวได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เคยจัดตั้งรัฐบาลและ
สามารถบริหารประเทศได้เป็นที่น่าพอใจ จึงลองสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวอื่นๆ และ
ลองรับฟังการปราศรัยด้วยตนเอง พบว่าผู้ปราศรัยไม่ได้มีท่าทีหรือลักษณะการปราศรัยดังที่
ปรากฎในข่าว กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าก้องมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อในด้านใด
(1) ทักษะด้านความสามารถในการแยกความจริงออกจากความเห็น
(2) ทักษะด้านความสามารถในการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รับด้วยเหตุและผล ไม่คล้อยตามผู้ผลิต
(3) ทักษะการประเมินวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต
(4) ทักษาด้านการวิเคราะห์และตีความหมายที่แฝงอยู่ในข้อมูล
91