Page 94 - kpi20366
P. 94

3. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากหน่วยงานที่ 3


                       ปัจจุบันการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชน อาจพบปัญหา เช่น การที่เยาวชนไม่สามารถวิเคราะห์ หรือ

               แยกแยะได้ว่าสื่อแบบไหนคือสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่สามารถประเมินวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตได้

               ขณะที่ผู้ผลิตสื่อส่วนใหญ่มีแนวโน้มผลิตข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่ได้ค านึงถึงผลลัพธ์

               ที่เกิดขึ้น การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นทักษะที่มีความส าคัญเนื่องจากท าให้เด็กและเยาวชนเกิดภูมิคุ้มกันเพื่อ

               ป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัล อีกทั้งสามารถเข้าใจถึงลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์

               โดยการวิเคราะห์ ประเมิน แยกแยะและตีความเนื้อหา เพื่อรู้เท่าทันสื่อ และไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการ
               ท าร้ายผู้อื่นหรือแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ แนวทางในการสร้างการรู้เท่าทันสื่อ ประกอบไปด้วย



                   1.  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน
                   2.  การสามารถสะท้อนความเห็นที่ตัวสื่อเอง

                   3.  การสามารถร้องเรียนหน่วยงานที่รับผิดชอบเมื่อเห็นการท าผิดกฎหมาย
                   4.  การสร้างการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์

                   5.  การมีส่วนร่วมในการบริหารหน่วยงาน เช่น การสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                       ทั้งนี้การรู้เท่าทันสื่อในส่วนของการรับข้อมูล (Accessibility) คือการถอดรหัสที่แฝงอยู่ในข้อมูลที่
               น าเสนอ ซึ่งต้องอาศัยทักษะในการวิเคราะห์และประเมิน ในขณะที่การส่งข้อมูลออก (Creation) คือการ

               สร้างเนื้อหาและข้อมูล ซึ่งในจุดนี้เยาวชนควรค านึงถึงบรรทัดฐานความเป็นพลเมืองเพื่อป้องกันความ
               เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผลิตสื่อ


               ข้อเสนอเพิ่มเติม


                       ข้อเสนอแนะ การรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประสบการณ์ของ

               เยาวชนแต่ละคน การศึกษา สถาบันครอบครัว สิ่งแวดล้อมภายนอก โอกาสในการเข้าถึงสื่อ ช่องว่างทาง
               รายได้ เช่น เยาวชนในต่างจังหวัด กับเยาวชนในกรุงเทพ  ฯลฯ


                       นอกจากนี้การรู้เท่าทันสื่อคือ การมีสติในการใช้สื่อ ไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการท าร้ายผู้อื่น
               ทั้งนี้ระบบการศึกษาควรปลูกฝังความรับผิดชอบ ปลูกฝังวิธีคิดให้มีการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical

               Thinking) และใช้การสื่อสารอย่างสันติวิธีในโลกออนไลน์ บ่มเพาะให้เกิดนิสัยของ “การเข้าถึง เข้าใจและ
               เข้าร่วม” ให้กับเยาวชน และควรมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลมากขึ้น

               4. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากหน่วยงานที่ 4

                       โดยปกติสังคมประชาธิปไตย คือสังคมที่เปิดโอกาสให้พลเมืองสามารถมีเสรีภาพในการแสดง

               ความคิดเห็น การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของเยาวชนจึงเป็นทักษะอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างการเป็น

               พลเมืองที่เข้มแข็งในสังคมประชาธิปไตย





                                                           85
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99