Page 90 - kpi20366
P. 90

ภาคผนวก ก


               1. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้แทนจากหน่วยงานที่ 1



               การรับข้อมูลเข้า


                       ปัจจุบันผู้ผลิตสามารถผลิตสื่อผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
               สื่อออนไลน์ ฯลฯ อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดการรับสื่อการเมืองในปัจจุบันมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต


               เนื่องจากช่องทางการรับข้อมูลในอดีตที่เคยเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ถูก
               แทนที่ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยเหตุนี้การรับสื่อของคนรุ่นใหม่จึงมักจะรับผ่านช่องทางที่เป็น

               อินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ขณะที่ลักษณะของการรับข้อมูลเข้า (Accessibility) ถือเป็นเรื่องปกติของผู้รับ

               อย่างไรก็ตามการเข้าถึงข้อมูลในกลุ่มเด็กและเยาวชนในปัจจุบันยังขาดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คือ ไม่ได้

               พิจารณาความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลจึงมักเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดการหลงเชื่อ  ดังนั้นการ

               รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นการมองโดยฝั่งผู้รับที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้มีการเปิดรับสื่ออย่าง

               ปลอดภัย


                       ปัญหาของการรับสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย


                       การเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย มีองค์ประกอบที่ส าคัญอยู่ 3 ส่วน คือสิทธิ หน้าที่ และ
               ความรับผิดชอบ ซึ่งทั้งสามส่วนนี้จ าเป็นต้องมาพร้อมกัน อย่างไรก็ตามเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มัก

               ไม่ได้ค านึงถึง นอกจากนี้ยังเพิกเฉยและไม่ให้ความส าคัญ การรับข้อมูลผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตในกลุ่ม
               เด็กและเยาวชนมีข้อควรระวังส าคัญคือ การแยกแยะข้อมูลที่มีประโยชน์ การตีความนัยยะของข้อมูลที่

               ได้รับ การสืบค้นข้อมูล อย่างไรก็ตามเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
               อย่างละเอียดท าให้หลงเชื่อข้อมูลโดยง่าย


                       นอกจากนี้เยาวชนบางกลุ่มอาจปิดรับสื่อการเมือง เนื่องจากยึดถือคุณค่า (Values) บางอย่างใน

               ใจ เช่น คุณค่าและทัศนคติที่เชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องผิดศิลธรรม เป็นเรื่องความขัดแย้ง การโกหก และ
               ผลประโยชน์ ท าให้ไม่สนใจการเมืองและหันไปรับสื่ออื่นๆ เช่น สื่อบันเทิงมากกว่า ซึ่งการปิดกั้นหรือ

               เลือกรับสื่อ (selected) ท าให้เยาวชนมีลักษณะการมองโลกแบบอุดมคติที่อาจขัดแย้งกับสภาพความเป็น

               จริงได้ เช่น การไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรคือประชาธิปไตยในอุดมคติ และอะไรคือประชาธิปไตย

               ในทางปฏิบัติ เป็นต้น นอกจากนี้การถือธงคุณค่าไว้ในใจได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการวิเคราะห์ การ

               แยกแยะ การตีความและการประเมินข้อมูลของเยาวชน หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีของเบคอน (Bacon’s

               idol) เมื่อเกิดการเลือกรับข้อมูล จะน าไปสู่ภาวะที่เยาวชนเกิดการเชื่อตามครอบครัว เชื่อตามการเลี้ยงดู

               เชื่อตามตลาด และความเชื่อตามบทบาทหน้าที่ของตน อคติ (Idol) หรือการยึดคุณค่าบางอย่างไว้ในใจ




                                                           81
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95