Page 30 - kpi19842
P. 30

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                  ก็สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดน้ าขึ้นน้ าลง ข้างขึ้นข้างแรม กลางวันกลางคืน
                  สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนด้านการประกอบอาชีพ การตั้งถิ่นฐาน นอกจากนี้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

                  อันได้แก่ การที่โลกมีลักษณะกลม การที่โลกแบ่งเป็นพื้นแผ่นดินและพื้นแผ่นน้ า ทรัพยากรธรรมชาติ

                  ภูมิอากาศ ท าเลที่ตั้ง และภูมิประเทศ  สิ่งเหล่านี้ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งสิ้นและท าให้มนุษย์
                  มีอารยธรรมที่แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันอีกด้วย


                                 4) ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural) จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม
                  ส่งผลให้การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม รวมทั้งการผสมผสานทาง

                  วัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุและมิใช่วัตถุ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลซึ่งกันและกัน จากนั้นท าให้เกิดการ
                  เปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือสังคม กล่าวคือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนของวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุหรือมิใช่

                  วัตถุเกิดขึ้น ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของที่อยู่อาศัย ภาษา เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

                  เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างไรก็ตามหากวัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วหรือช้าเกินไป ก็จะ
                  ท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง ซึ่งน าไปสู่การเกิดปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ขึ้นได้

                                 5) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological) การน าเอาเทคโนโลยีหรือการประดิษฐ์

                  สิ่งใหม่มาใช้จะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสถาบันและประเพณีบางอย่าง ซึ่ง Ogburn (1964)

                  มีฐานคิดว่า การประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาจะเพิ่มความสลับซับซ้อนของวัฒนธรรม ชีวิตของมนุษย์ก็จะสับสน
                  ขึ้นตามเนื้อหาของวัฒนธรรมนั้น และเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทั้งการเพิ่มของผลผลิต

                  การกระจายสินค้าและบริการ และท าให้โครงสร้างทางสังคมมีการปรับตัวให้เป็นไปตามสิ่งเหล่านี้ กล่าวอีก

                  อย่างหนึ่งว่า เทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมโดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เราต้องปรับตัวให้เข้า
                  กันให้ได้ ซึ่งปกติก็คือการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ การปรับตัวของมนุษย์ได้สร้างตัวแบบแห่ง

                  จารีตประเพณีและสถาบันทางสังคมขึ้นมาเพื่อความสอดคล้องระหว่างสิ่งทั้งสอง

                                 6) ปัจจัยด้านขบวนการสังคม (Social Movement) นักสังคมวิทยาบางกลุ่มพยายาม

                  อธิบายให้เห็นว่าขบวนการสังคมท าให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้เพราะขบวนการสังคมใดๆ ก็ตาม
                  เมื่อด าเนินการได้ส าเร็จหรือไม่ส าเร็จก็ตาม จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

                  เนื่องจากเป็นการกระท าร่วมกันของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ตรงกัน เพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงใน
                  โครงสร้างของสังคม ซึ่งอาจจะเป็นการออกกฎหมายหรือการยับยั้งการด าเนินนโยบายบางอย่างของรัฐบาล

                  การบ าบัดความต้องการให้ได้จึงต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง (อุทัย หิรัญโต, 2522)

                                 7) ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological) นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าปัจจัยนี้มีความส าคัญ

                  อย่างมากที่ท าให้สังคมเปลี่ยนแปลง มักจะกล่าวว่าสาเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาจากจิตใจ

                  ของมนุษย์ เพราะมนุษย์โดยธรรมชาติชอบที่จะเปลี่ยนแปลง ค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ หาประสบการณ์ใหม่ๆ มนุษย์
                  ในสังคมทุกแห่งจะมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีของตน ซึ่งการเปลี่ยนแปลง

                  นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Sharma, 1968)





                                                            29
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35