Page 28 - kpi19842
P. 28

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                         2.1.6 ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

                             การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

                  ประเทศไทยนับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) เป็นต้นมา ได้มีพัฒนาการ
                  เกิดขึ้นมากมาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง เทคโนโลยี ฯลฯ การมีจ านวนประชากรเพิ่มมากขึ้น

                  ประกอบกับการที่วัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก จึงท าให้เกิดการ

                  เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งเราสามารถพิจารณาความหมายของการเปลี่ยนแปลงทาง
                  วัฒนธรรมจากนักสังคมวิทยาได้ ดังนี้


                             Wiese (1956)  (อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538) ให้ความหมายไว้ว่า
                  การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งของ

                  เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นผลผลิตของกิจกรรมระหว่างมนุษย์

                             Davis (1967)  (อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลง

                  ทางวัฒนธรรม คือ การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมทุกสาขา ทุกประเภท กล่าวคือ
                  ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือวัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุ


                             ราชบัณฑิตยสถาน (2524)  ได้ก าหนดความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
                  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมของประชาชาติหนึ่งๆ ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรม

                  ที่ไม่ใช่วัตถุ แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทั้งสองประเภทนี้เป็นไปไม่เท่ากัน โดยทั่วไปวัฒนธรรม
                  ที่ไม่ใช่วัตถุจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่า นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยการ

                  วางแผนก็ได้

                             สุริชัย  หวันแก้ว (2549)  กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลง

                  ที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์และสร้างขึ้น และสิ่งที่ส าคัญก็คือท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน

                  ด้านค่านิยม บรรทัดฐานและระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ในสังคมนั้นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของค่านิยมจาก
                  สถานภาพและบทบาทชายเป็นใหญ่  มาเป็นหญิงและชายเท่าเทียมกัน  ค่านิยมในการเลือกคู่  ค่านิยมใน

                  การแต่งงาน

                             ณรงค์  เส็งประชา (2541)  ให้ความหมายว่า  การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นการ

                  เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มนุษย์ก าหนดให้มีขึ้น ทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ ที่น าเอามาใช้เป็นองค์ประกอบในการ
                  ด าเนินชีวิตร่วมกันในสังคม


                             สุพจน์  แสงเงิน และคณะ (2550) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การ
                  เปลี่ยนแปลงทางด้านแนวคิด  แนวก าหนดพฤติกรรม ระเบียบแบบแผน ระเบียบประเพณี ธรรมเนียม

                  วิธีการปฏิบัติและวัตถุต่างๆ ที่เกี่ยวกับการด าเนินชีวิตหรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต








                                                            27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33