Page 32 - kpi19842
P. 32
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
ถ้ามีความเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านั้นแล้ว ย่อมมองเห็นถึงความส าคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
วัฒนธรรม ซึ่งจะน าไปสู่การก าหนดแนวทางการพัฒนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2.1.8 กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นกระบวนการที่มีลักษณะของการต่อเนื่องอย่าง
ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใดและเวลาใด เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อกล่าวถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม ณ ชุมชนสังคมหรือประเทศชาติใดๆ ย่อมจะมีลักษณะของกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชุมชนสังคมนั้นๆ
การที่วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปก็ดีหรือความสัมพันธ์ทาง
สังคมของผู้คนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ
กระบวนการต่างๆ ที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชุมชนตามแบบแผนพฤติกรรมของสังคมต่างๆ ทั้งสิ้น
และแนวโน้มในสภาวการณ์ปัจจุบันที่สังคมและวัฒนธรรมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากนั้น มี
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญ ดังนี้
กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง (Urbanization)
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ความเจริญด้านเทคโนโลยีของมนุษย์เริ่มก้าวหน้ามากขึ้น
มนุษย์สามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชนได้มากยิ่งขึ้นทุกที จากการค้นพบการใช้แรงงาน น้ า ลม ไอน้ า
จนกระทั่งน้ ามันหรือไฟฟ้า ในขณะที่ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ การจัด
ระเบียบทางสังคมก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและแบบแผน
ของการอยู่อาศัยไว้เป็นล าดับตามขั้นของการวิวัฒนาการ ดังนี้
ล าดับที่ 1 เศรษฐกิจเป็นแบบการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ
เก็บผัก ล่าสัตว์เป็นอาหาร ที่อยู่อาศัยยังไม่เป็นหลักแหล่ง
ล าดับที่ 2 เศรษฐกิจเป็นแบบเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์เป็นฝูงต้องย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ
ล าดับที่ 3 จะเป็นไปได้ก็เมื่อมีการพัฒนาด้านการกสิกรรมจนมีอาหารเป็นส่วนเหลือ
เพียงพอส าหรับชุมชนนั้น
ล าดับที่ 4 มาจากความสามารถที่จะเพิ่มผลิตผลให้ได้มากขึ้น มีงานฝีมือมากขึ้น
การคมนาคมที่ดีขึ้นและมีการพัฒนาการค้าเกิดขึ้น
ล าดับที่ 5 เป็นผลจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การจัดระเบียบสังคมที่เปลี่ยน
แปลงสัมพันธ์กับการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมและความซับซ้อนในแบบเมืองใหญ่
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง เริ่มจากการที่มนุษย์อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ก้อนเป็นชุมชนขึ้นตามที่ Hauser (อ้างถึงใน ด ารงศักดิ์ แก้วเพ็ง, 2556) กล่าวว่า การที่เมืองจะมีและ
พัฒนาขึ้นได้นั้นจะต้องประกอบด้วย ขนาดของประชากร มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี มีความ
31