Page 31 - kpi19842
P. 31

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                    ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                              8) ปัจจัยอื่นๆ (Other) นอกเหนือปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย
               เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  ปัจจัยทางการศึกษา  ปัจจัยทางการเมืองและการทหาร  ปัจจัยทางศาสนาและ

               อุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อก็สามารถท าให้ชุมชนสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

                              ดังนั้นอาจสรุปถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น

               ได้ดังนี้

                              1) ปัจจัยภายใน สิ่งต่าง ๆ ภายในชุมชนสังคมที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

               ในชุมชนสังคมนั้น ๆ ซึ่งมี 5 ลักษณะ คือ

                                 1.1) ปัจจัยทางธรรมชาติ  รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ด้วย ได้แก่
               ความอุดมสมบูรณ์หรือไม่อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ที่ท าให้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น

               สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ การโคจรของดวงดาว ทรัพยากรธรรมชาติ แผ่นดินไหว พายุ อุทกภัย

                                 1.2) ปัจจัยทางสังคม  เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือความแตกต่างของ

               องค์ประกอบของประชากร  เช่น การเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากร อันเนื่องจากการเกิด การตายและ
               การย้ายถิ่น อายุ เพศและการศึกษา กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม การกระท าของปัจเจกชนในสังคม

               เช่น การขัดแย้ง การแข่งขัน ความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ  ความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของประชากร
               การประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ การวางแผนทางสังคม


                                 1.3) ปัจจัยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศาสนา อุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อ เทคโนโลยี
                                 1.4) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากมนุษย์จะต้องท ามาหากินจึงต้องมีการประกอบ

               อาชีพ ความต้องการวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสินค้าและบริการ

                                 1.5) ปัจจัยทางการเมือง  นโยบายทางการเมือง การออกกฎหมาย การบริหารและ

               การทหาร

                              2) ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกของสังคม ปัจจัยที่เห็นชัดก็คือ

                                 2.1) การติดต่อระหว่างสังคมที่หลากหลาย เช่น การติดต่อค้าขายระหว่างชุมชน

               ประเทศ  การศึกษาระหว่างกัน  การเผยแพร่ศาสนา  การยืมและยอมรับวัฒนธรรมอื่นมาใช้  การ
               แลกเปลี่ยน  การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

                                 2.2) การกระทบกระทั่งระหว่างสังคม  ตั้งแต่การล่าอาณานิคมและการโจมตีจาก

               ชาติอื่น การขัดแย้งระหว่างชายแดนของสองประเทศ  ความไม่สงบระหว่างประเทศ  ไปจนถึงสงครามแบบ
               ต่างๆ ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น


                              จากทั้งหมดที่กล่าวมาอาจกล่าวสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
               ที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีเหตุปัจจัยหลายประการที่ก่อให้เกิด

               การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน





                                                         30
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36