Page 27 - kpi19842
P. 27

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                    ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                          Smelser (1988)  (อ้างถึงใน สุพิศวง  ธรรมพันธา, 2543) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทาง
               สังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับประชากร พฤติกรรมของสมาชิกในสังคม โครงสร้างสังคม

               และแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและแบบแผนทางวัฒนธรรม

                          ราชบัณฑิตยสถาน (2524) ได้ก าหนดความหมายไว้ว่า  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง

               การที่ระบบสังคม ระบบครอบครัว ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

               การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปอย่างถาวรหรือชั่วคราว
               โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น


                          ณรงค์  เส็งประชา (2541)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการ
               เปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะของสังคม เช่น ขนาด ความหนาแน่น ระดับการศึกษา สุขภาพอนามัย

               เพิ่มขึ้น

                          สัญญา  สัญญาวิวัฒน์ (2547) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง

               การเปลี่ยนแปลงองค์การทางสังคม (Social Organization) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในเรื่อง

                              1) ขนาดขององค์การสังคม (Size) คือใหญ่ขึ้นหรือลดลง

                              2) ประเภทขององค์การสังคม (Kind) เช่น จากกลุ่มเพื่อนไปเป็นครอบครัว จากครอบครัว
               เป็นชุมชน

                              3) ลักษณะองค์การสังคม (Characteristics) เช่น จากยึดเหนี่ยวกันหลวมๆ เป็นยึดเหนี่ยว

               กันเหนียวแน่น จากแบ่งแยกมาเป็นสมัครสมานสามัคคี

                              4) สถานภาพและบทบาท (Status-Role) เช่น เคยสถานภาพสูงมาเป็นต่ า จากเคยต่ า
               มาเป็นสูง จากเคยเป็นเพื่อนกันมาเป็นสามีภรรยากัน บทบาทก็พลอยเปลี่ยนไปด้วย


                          สุริชัย  หวันแก้ว (2549)  อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลง
               ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของความสัมพันธ์

               ระหว่างกลุ่มและระหว่างส่วนประกอบของสังคมนั้นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างชาวชนบท ชาวเมือง

               การเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าวนี้ ย่อมเกิดขึ้นในระดับกลุ่มบุคคลและในระดับสถาบันทางสังคมไม่ว่า
               จะเป็นในสถาบันครอบครัว เครือญาติ การสมรส การครองเรือนหรือสถาบันการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ก็ได้


                          อาจสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใด
               ระยะเวลาหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างและหน้าที่ของระบบความสัมพันธ์ทางสังคม

               ระหว่างมนุษย์หรือกลุ่มคนในสังคม  ตลอดจนเป็นการเปลี่ยนแปลงการกระท าระหว่างกันทางสังคม ในการ
               ติดต่อการกระท าระหว่างมนุษย์หรือกลุ่มของสังคม










                                                         26
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32