Page 24 - kpi19842
P. 24

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                  นักคิดต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็นเรื่องของข้อสมมติของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน การท าความเข้าใจ
                  ข้อสมมติของการเปลี่ยนแปลงจะท าให้รู้ถึงลักษณะ สาเหตุและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความ

                  ส าคัญต่อความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยข้อสมมติของการเปลี่ยนแปลง

                  Nisbet (1969) อธิบายไว้ดังนี้

                                 1) การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ นักการศาสนามักจะอธิบายการเปลี่ยน-

                  แปลงของชีวิตของมนุษย์ว่า คนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องของธรรมชาติ
                  ไม่มีใครที่จะบังคับให้หยุดการเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตาม

                  ธรรมชาติ

                                 2) การเปลี่ยนแปลงเป็นอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้หมายถึงว่า การ

                  เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานี้ ได้เกิดมาจากปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีลักษณะของ
                  การกระท าหนึ่งๆ เป็นสาเหตุผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดๆ จะ

                  เกิดจากปัจจัยที่ผลักดันท าให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น คนเรามีการเจริญเติบโตเนื่องจากการ
                  รับประทานอาหารและออกก าลังกายอย่างสม่ าเสมอตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ท าให้เห็นว่าเด็กจะเติบโต

                  เป็นผู้ใหญ่ตลอดเวลาหรือผู้ใหญ่จะกลายเป็นคนชราในที่สุด

                                 3) การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง  การเปลี่ยนแปลงที่ได้กล่าวถึงนั้นมีขั้นตอนต่างๆ

                  มองเป็นเรื่องของการต่อเนื่องเป็นสาเหตุสืบต่อกันมา เช่น สังคมมีการเปลี่ยนแปลงผ่านขั้นตอนต่างๆ จาก

                  อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่ขั้นตอนหนึ่งเป็นลักษณะของสายสัมพันธ์
                  เชื่อมโยงหรือสาเหตุติดต่อกันไป


                                 4) การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกัน  นักสังคมวิทยาสมัยแรกๆ ได้ให้ทัศนะว่าการ
                  เปลี่ยนแปลงทุกสังคมต้องผ่านขั้นตอนแบบเดียวกัน หมายความว่า สังคมที่ก าลังมีการเปลี่ยนแปลงทุก

                  สังคมในโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนๆ กัน เพียงแต่ว่าบางสังคมเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าบางสังคม
                  เท่านั้น  ในปัจจุบันนี้ข้อสมมตินี้ได้รับการคัดค้าน เพราะไม่จ าเป็นที่ทุกสังคมจะเปลี่ยนแปลงด้วยขั้นตอน

                  แบบเดียวกัน เช่น สังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากสังคมอเมริกา สังคมโซเวียต (รัสเซีย) มีการ

                  เปลี่ยนแปลงที่แตกต่างไปจากสังคมจีน

                                 5) การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจ าเป็น  การเปลี่ยนแปลงในความหมายนี้ได้พยายามกล่าวถึง
                  การเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้นเป็นสิ่งจ าเป็นที่จะต้องท าให้เกิดขึ้น เพื่อให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความ

                  เท่าเทียมกันในสังคม เมื่อเป็นเช่นนั้นรัฐบาลซึ่งเป็นผู้บริหารของประเทศจึงเป็นผู้ริเริ่มในการวางแผนพัฒนา

                  เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ประชาชนได้รับการพัฒนาทุกๆ ด้านอย่างทั่วถึง ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล
                  อยู่แล้วที่จะต้องท า










                                                            23
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29