Page 22 - kpi19842
P. 22
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
จ านงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ (2548) ได้กล่าวถึง “วัฒนธรรม” ว่าหมายถึง แบบแผน
การด าเนินชีวิตของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกของสังคมหนึ่งได้ยึดถือเป็นแบบแผนของชีวิตร่วมกัน
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข (2546) ได้กล่าวถึง “วัฒนธรรม” ว่าหมายถึง วิถีแห่งการด ารงชีพ
ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งระบบความรู้ ความคิด ความเชื่อ จนมีการยอมรับปฏิบัติกันมา มีการอบรม
ถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นต่อมา ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
สุพัตรา สุภาพ (2534) ได้กล่าวถึง “วัฒนธรรม” ว่าหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงออกถึง
วิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่งที่ประกอบไปด้วยความรู้ ความเชื่อ
ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี วิทยาการ และทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดและท าในฐานะสมาชิกของสังคม
จากตัวอย่างค านิยามข้างต้นพบว่า “วัฒนธรรม” มีความหมายที่กว้างขวางมาก และ
ครอบคลุมเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างในการด ารงชีวิตร่วมกัน ได้แก่ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย
ประเพณี ซึ่งมนุษย์ใช้เป็นแนวทางในการอบรมศึกษา และถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นใหม่ รวมทั้งมีการ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่
2.1.3 ความหมายของการเปลี่ยนแปลง
สุภาษิตไทยได้กล่าวไว้ว่า “สายน้ าไม่มีวันไหลกลับ” หรือ “เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร” นั้น
อาจเปรียบได้เช่นเดียวกับ “การเปลี่ยนแปลง” ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ค านิยามไว้ดังนี้
ยศ สันตสมบัติ (2548) ได้กล่าวถึง “การเปลี่ยนแปลง” ว่าเป็นสัจธรรมเที่ยงแท้ของชีวิต
และธรรมชาติ สังคมวัฒนธรรมก็มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
สนิท สมัครการ (2545) ได้กล่าวถึง “การเปลี่ยนแปลง” ว่าหมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดถูกแปร
สภาพให้ไม่เหมือนเดิม เมื่อเวลาผ่านไปแต่ยังคงสภาพของสิ่งนั้นอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจึงมีองค์ประกอบ
หลัก 3 ประการคือ 1) ความแตกต่าง 2) เวลา และ 3) สภาพที่คงตัวอยู่ได้
งามพิศ สัตย์สงวน (2545) ได้กล่าวถึง “การเปลี่ยนแปลง” ว่าหมายถึง ความแตกต่าง
ของสิ่งอย่างเดียวกันที่เอามาเปรียบเทียบกันในเวลาที่แตกต่างกันไป รวมกระบวนการเปลี่ยนแปลงใน
ปรากฏการณ์ทางสังคม ทั้งที่วางแผนปรากฏการณ์ดังกล่าวแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้ 6 ข้อที่สัมพันธ์กัน
คือ 1) ก าหนดปรากฏการณ์ที่ก าลังเปลี่ยนแปลงไป 2) ระดับของการเปลี่ยนแปลง 3) ระยะเวลาของการ
เปลี่ยนแปลง 4) ทิศทางของการเปลี่ยนแปลง 5) ขนาดน้ าหนักของการเปลี่ยนแปลง และ 6) อัตราการ
เปลี่ยนแปลง
สนธยา พลศรี (2545) ได้กล่าวถึง “การเปลี่ยนแปลง” ว่าหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ทั่วไปของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดีขึ้นหรือด้อยลงกว่าเดิม โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปแบบวิธีใดและอัตราความเร็ว
เท่าใด หรือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพที่เคยด ารงอยู่ไปสู่สภาพใหม่ เมื่อกาลเวลาผ่านเลยไป การ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาจจะดีขึ้นหรือด้อยลงกว่าสภาพเดิมก็ได้
21