Page 25 - kpi19842
P. 25

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                    ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                          ข้อสมมติทั้ง 5 ประการดังได้กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงมีธรรมชาติและ
               ความเป็นมาที่อาจจะวิเคราะห์แตกต่างกันไปตามแนวความคิดและข้อสมมตินั้นๆ อย่างไรก็ตามข้อสมมติ

               ของการเปลี่ยนแปลงนี้มีประโยชน์ต่อการเข้าใจเบื้องหลังในการมองสังคมที่ก าลังจะเปลี่ยนแปลงในทาง

               สังคมได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

                          เนื่องจากชุมชนและท้องถิ่นมีลักษณะที่เป็นพลวัต (Dynamic) ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อม

               มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิธีการด ารงชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไปเพื่อให้เข้ากับสภาวะใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งการ
               เปลี่ยนแปลงนั้นอาจดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้  ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของชุมชนจ าเป็นอย่างยิ่ง

               ที่จะต้องท าความเข้าใจในความหมายของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
               เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นนั้น  ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเสมอไป

               ในทางสังคมวิทยาถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและมีการปะทะสังสรรค์ซึ่งกัน

               และกัน การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ต่อกันของคน คือที่มาของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
               (โกวิทย์  พวงงาม, 2553)

                          เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ (2543)  ได้อธิบายแนวคิดของ อัลวิน ทอฟเลอร์ (Alvin Toffler)

               ที่ได้ท าการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งมีการเปรียบเทียบ

               การเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโลกเหมือนกับ คลื่นลูกที่สาม (The Third Wave) ดังนี้

                              คลื่นลูกที่ 1  สังคมเกษตรกรรม  เริ่มต้นประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลมาจาก

               การปฏิวัติเกษตร โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่หรือความเจริญก้าวหน้าของสังคม คือการมีอาณาเขต
               ใหญ่โตที่กว้างขวาง มีพื้นที่ส าหรับเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และท าการเกษตรจ านวนมาก


                              คลื่นลูกที่ 2  สังคมอุตสาหกรรม  เริ่มเมื่อประมาณ ค.ศ.1650-1750 เป็นผลมาจากการ
               ปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้เครื่องจักรกล มีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าจ านวนมากเพื่อมวลชน ใช้เวลา

               ประมาณ 300 ปีในการก่อตัว โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งของประเทศ คือความอุดม
               สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จ านวนแหล่งแร่ธาตุ วัตถุดิบที่มีอยู่และในสมัยต่อมาเครื่องชี้วัดคือ “ทุน”

               จ านวนมาก

                              คลื่นลูกที่ 3  สังคมแห่งเทคโนโลยี  เริ่มต้นราวค.ศ.1955 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จัดว่าเป็น

               ยุคแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดทางความรู้อย่างสูง มีการพัฒนา
               ด้านคอมพิวเตอร์ เครือข่ายการสื่อสารและการคมนาคม ท าให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

               รวมทั้งสินค้า ผู้คนและการบริการ มีการเชื่อมโยงและส่งอิทธิพลต่อกันและกัน โดยมีเครื่องชี้วัดความ

               ยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งของประเทศ คือความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศและอ านาจในการ
               เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร










                                                         24
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30