Page 20 - kpi19842
P. 20

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                       ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                                                           บทที่ 2
                                             วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                         การวิจัยเรื่อง กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่ม
                  ชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร เป็น

                  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คณะผู้วิจัยได้ท าการศึกษาทบทวน  วรรณกรรมและ

                  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวคิด ทฤษฎีส าหรับใช้เป็นแนวทางในการก าหนดกรอบแนวคิด เพื่ออธิบาย
                  ปรากฏการณ์และเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิจัย ประกอบด้วย

                             1) แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
                             2) แนวคิดพหุวัฒนธรรม

                             3) แนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัว

                             4) แนวคิดอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
                             5) แนวคิดการปกครองส่วนท้องถิ่น

                             6) แนวคิดการมีส่วนร่วม
                             7) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                  2.1 แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม


                         การศึกษาเรื่องของสังคม ถือเป็นเรื่องจ าเป็นส าหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความจ าเป็นต้องด าเนิน
                  ชีวิตร่วมกัน มิอาจด ารงอยู่ได้เพียงล าพัง และหากกล่าวถึงสังคมก็ย่อมต้องกล่าวถึงวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย

                  เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคม ดังที่ ยศ สันตสมบัติ
                  (2548) กล่าวไว้ว่า “สังคมวัฒนธรรมไม่เคยหยุดนิ่ง แต่มีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา”

                  ดังนั้นก่อนจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง จ าเป็นต้องท าความเข้าใจความหมายของค าว่า “สังคม” และ

                  “วัฒนธรรม” ให้ชัดเจนก่อน

                         2.1.1 ความหมายของสังคม

                             ค าว่า “สังคม” หรือ “Society” อาจใช้ใน 2 ความหมายคือ การเป็นกลุ่มใหญ่ชนิดหนึ่ง และ

                  ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือกลุ่มก็ได้ (รัชนีกร เศรษโฐ, 2532) กลุ่มคนดังกล่าว เป็นองค์กรที่มี

                  ลักษณะแตกต่างกันตามสภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงของบรรดาปัจเจกชนทั้งหลายที่ผูกพันเข้าด้วยกัน
                  ในลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งก่อให้เกิด “สังคม” นั่นเอง  มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ค านิยามไว้

                  ดังนี้

                             สมศักดิ์  ศรีสันติสุข (2546)  ได้กล่าวถึง “สังคม” ว่า สังคมที่มีองค์ประกอบของการที่สมาชิก

                  มากกว่าสองคนขึ้นไป  มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในอาณาบริเวณร่วมกัน สมาชิกจะมีความรู้สึกเป็นพวก





                                                            19
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25