Page 18 - kpi19842
P. 18
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
1.6 ขอบเขตของการวิจัย
1.6.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา คณะผู้วิจัยได้ก าหนดเนื้อหาของการวิจัย ดังนี้
1) เนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา จ านวน 6 ชนเผ่า
อาทิ ประวัติความเป็นมาของชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทั่วไปทางสังคม
2) เนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการการเป็นผู้น าแบบทางการของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา
อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร
3) เนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยในการเป็นผู้น าแบบทางการของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทย
ภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร
4) เนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร
1.6.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลและผู้ร่วมสนทนากลุ่ม
1) ผู้ให้ข้อมูล เพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ผู้น าแบบทางการ จาก 6 ชนเผ่า
คณะกรรมการชนเผ่าทั้ง 6 เผ่า ผู้น าแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้น าทางศาสนา ผู้น าพิธี ผู้น าที่ในชนเผ่า
ให้ความเคารพศรัทธาทั้ง 6 เผ่า สมาชิกในชนเผ่าทั้ง 6 เผ่าที่ร่วมท างานเพื่อสังคม โดยใช้การเลือกแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ศึกษาต้องมีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์และ
ตามคุณลักษณะ ผู้วิจัยจะเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยอาศัยการแนะน าของคนรู้จักในพื้นที่และตรงกับ
คุณลักษณะที่ต้องการศึกษา คณะผู้วิจัยท าการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ จนกระทั่งได้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
พัฒนาการการเป็นผู้น าแบบทางการ เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยในการเป็นผู้น าแบบทางการ พฤติกรรม
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ครบตามจ านวนที่ต้องการหรือจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว
2) ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ตัวแทนผู้น าแบบทางการ จาก 6 ชนเผ่า คณะกรรมการ
ชนเผ่าทั้ง 6 เผ่า ผู้น าแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้น าทางศาสนา ผู้น าพิธี ผู้น าที่ในชนเผ่าให้ความเคารพ
ศรัทธาทั้ง 6 เผ่า สมาชิกในชนเผ่าทั้ง 6 เผ่าที่ร่วมท างานเพื่อสังคม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับเลือกเป็น
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนจาก
คณะกรรมการชนเผ่า ตัวแทนผู้น าทางศาสนา ผู้น าพิธีในชนเผ่า และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับเลือกเป็นก านัน
ผู้ใหญ่บ้าน โดยใช้การเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้ร่วมสนทนา
กลุ่มต้องมีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์และตามคุณลักษณะตรงกับที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ข้อมูล
กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา
1.6.3 ขอบเขตด้านพื้นที่วิจัย คณะผู้วิจัยได้ท าการก าหนดพื้นที่การท าวิจัยครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา โดยเจาะจงพื้นที่ศึกษาอ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร ประกอบด้วย
17