Page 15 - kpi19842
P. 15

“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
                    ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร”  โดย  โอกามา จ่าแกะ  ผศ.ณัฏฐวุฒิ  ทรัพย์อุปถัมภ์  ชลกานดาร์  นาคทิม





                       จากสภาพเบื้องต้นที่มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะพหุวัฒนธรรมในสังคมไทยเช่นนี้เอง  จึงต้องการ
               จะท าความเข้าใจกับความหมายและความซับซ้อนของพหุวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในบริบทของการเปลี่ยนผ่าน

               ทางสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันในประเด็นส าคัญต่างๆ คือ 1) ความเข้าใจในพหุวัฒนธรรมในบริบท

               ทางประวัติศาสตร์ของปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมและการต่อสู้ทางการเมือง  2) ความเข้าใจใน
               พหุวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมุมมองเกี่ยวกับอัตลักษณ์และชาติพันธุ์   3) ความเข้าใจในพหุวัฒนธรรมใน

               ฐานะที่เป็นปฏิบัติการของการปรับความสัมพันธ์เชิงอ านาจระหว่างกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
               เพื่อสร้างสังคมที่ยอมรับพหุวัฒนธรรมมากขึ้น   4) ความเข้าใจพหุวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นทฤษฎีการเมือง

               และนโยบายเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง (ส านักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 จังหวัดเชียงใหม่,

               2546: 5-6)

                       จังหวัดก าแพงเพชรเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่อยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างและมี

               อาณาเขตที่ติดต่อกับภาคกลาง  ในอดีตเมื่อ พ.ศ.2521-2524 ได้มีการอพยพของชาวไทยภูเขาเข้ามาใน
               พื้นที่ของจังหวัด คือที่บริเวณอ าเภอคลองลาน และใน พ.ศ.2525 ทางรัฐบาลไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกา

               ก าหนดให้พื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์  ในอีกสองปีต่อมา คือ
               พ.ศ.2527-2529 คณะกรรมการกองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดก าแพงเพชร ได้มีค าสั่ง

               ด าเนินการอพยพชาวเขาไปยังพื้นที่ที่จัดสรรใหม่ในบริเวณอ าเภอคลองลานและอ าเภอใกล้เคียง กระทั่ง

               ต่อมาใน พ.ศ.2537 จึงได้มีการจัดตั้งโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้นด้วยพัฒนาการของกระบวนการใช้
               กฎหมายเพื่อเปลี่ยนพื้นที่การด ารงวิถีชีวิตดังกล่าว จึงท าให้กลุ่มคนชาวเขามีความพยายามที่จะปรับตัว

               ในด้านพฤติกรรมเพื่อให้เข้ากับสังคมไทย  แต่ทว่าผลกระทบจากการพัฒนาของภาครัฐที่ท าให้ก่อเกิดปัญหา
               กับกลุ่มชาวเขาในจังหวัดก าแพงเพชร คือการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวเขา เนื่องจากโครงการ

               พัฒนาเน้นฟื้นฟูสภาพป่า ให้เป็นแหล่งต้นน้ าล าธารที่มีความสมบูรณ์ดังเดิม ให้ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดิน

               ท ากินได้มีที่ดินเป็นหลักแหล่ง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวเขาขาดหายไป จึงท าให้ชาวเขา
               เผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอ าเภอคลองลานและบริเวณใกล้เคียงต้องอพยพเข้าไปท างานในเขตเมือง

               มากขึ้น เช่น ขายดอกไม้และพวงมาลัย  ประกอบอาชีพรับจ้าง  ส่วนชาวเขาที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่
               เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับก็พากันออกจากพื้นที่ไปท างานรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นวิถีแห่งความ

               เป็นชุมชนชาวเขาจึงขาดหายไป

                       สถานการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในอ าเภอคลองลาน กล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มชาวเขาที่ได้รับ

               ผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐบาลไทย  โดยในช่วงแรกกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ จ านวนกว่า

               6 เผ่า คือ ชนเผ่ากระเหรี่ยง ชนเผ่าลาหู่ซี (แม้ว) ชนเผ่าเย้า ชนเผ่ามูเซอ ชนเผ่าลีซอ และชนเผ่าอีก้อ
               ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่และอาศัยอยู่ในดินแดนที่อยู่ในการควบคุมของรัฐบนพื้นที่สูง การมีปฏิสัมพันธ์กับ

               กลุ่มอ านาจที่เหนือกว่า และกลุ่มคนพื้นราบ ถือเป็นแรงกดดันที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผชิญในแผ่นดิน
               ไทย เป็นเหตุท าให้กลุ่มชาติพันธุ์ตกอยู่ในสภาพคนชายขอบ ไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมพื้นราบ การเผชิญกับ

               สถานการณ์ดังกล่าวท าให้กลุ่มชาวเขาเผ่าต่างๆ ต้องท าการสร้างพื้นที่ (place making) ของตัวเอง




                                                         14
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20