Page 14 - kpi19842
P. 14
“กระบวนการเป็นผู้น าแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์
ชาวไทยภูเขา อ าเภอคลองลาน จังหวัดก าแพงเพชร” โดย โอกามา จ่าแกะ ผศ.ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์ ชลกานดาร์ นาคทิม
บทที่ 1
บทน า
1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
บริเวณทางภูมิภาคทางเหนือของประเทศไทยได้มีกลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็น
จ านวนมาก แต่ละกลุ่มจะมีลักษณะการด าเนินชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ทั้งทางด้านภาษา
วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวนี้หน่วยงานราชการไทยได้เรียกว่า “ชาว
ไทยภูเขา” และจะมีการอยู่อาศัยกระจัดกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ กว่า 20 จังหวัด บ้างก็อาศัย
ตามภูเขาสูง บ้างก็อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา ได้แก่ กระเหรี่ยง ลาหู่ซี เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ ถิ่น ขมุ ลัวะ และ
ผีตองเหลือง (มาบรี) ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ (2518: 3-4) ได้เล่าถึงความเป็นมาของชาวเขาว่าถ้าหากพิจารณา
ในระยะเวลาของการอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยแล้ว ก็อาจแบ่งชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย
ออกเป็นสองพวกด้วยกัน คือ ชนชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนชาติไทย ชาวเขาพวกที่สองเข้ามาอยู่ภายหลังพวกเอเชียตะวันออกซึ่งอพยพจากพม่า จีน และลาว
มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับชนชาติจีน ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวเขาในตระกูลธิเบต-พม่า ได้แก่ ดินแดนในตอน
เหนือของพม่าและไทย ส าหรับชาวเขาในตระกูลจีนเดิมเคยตั้งรกรากท ามาหากินอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว
ยูนนาน เหอหนาน และกวางสีในประเทศจีน ชาวเขาเหล่านี้ได้อพยพลงใต้ผ่านตังเกี๋ย ลาว และพม่า
เข้ามาอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย
ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองที่ผ่านมา ในเบื้องต้นจะ
สังเกตเห็นได้ว่าลักษณะปัญหาของชาวเขา คือ ปัญหาทางสังคมของพหุวัฒนธรรมในสังคมไทยจะปรากฏ
ตัวขึ้นอย่างหลากหลาย ประการแรก คือ การเรียกร้องสิทธิทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในชาติจะมีเพิ่ม
มากขึ้น เพราะจะขยายตัวไปเกี่ยวข้องกับสิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิชุมชนในด้านต่างๆ ด้วย พร้อมกัน
นั้นอาจจะน าไปสู่ความรุนแรงเมื่อน าไปเกี่ยวข้องกับสภาพทางสังคมของความแตกต่าง ประการที่สอง คือ
ความขัดแย้งกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่เริ่มขยายตัวรุนแรงมากขึ้น เพราะการบังคับใช้
กฎหมายที่ละเลยและมองไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ชาวลัวะและชาวมลาบรี
ในภาคเหนือ และชาวเลในภาคใต้ซึ่งนักวิชาการถือว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มแรกๆ ของ
แหลมมลายู (Hamilton, 2006) ประการที่สาม คือ ประเด็นการเมืองเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่น
เช่น แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัยตามชายแดน และคนแต่งงานข้ามชาติ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนหรือ
การเคารพสิทธิของความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน และประการที่สี่คือความขัดแย้งและอคติเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมในฐานะที่เป็นลีลาชีวิตที่แตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรมย่อยของกลุ่มคนต่างๆ และวัฒนธรรมของ
คนเพศที่สาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคารพสิทธิของความเป็นปัจเจกชนที่มีความเท่าเทียมกันของคนในชาติ
13